ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ (พหุปัญญา) พร้อมเครื่องมือวัดประเมินผล
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

สวัสดีค่ะ

วันนี้ลองทำแผนการจัดการเรียนรู้ตัวอย่างมาให้ดูนะคะ ว่าเราจัดการเรียนการสอนลูกอย่างไร และวัดประเมินผลยังไง พร้อมเครื่องมือวัดผล และเกณฑ์การให้คะแนน ถ้าทำชัดเจน และมีหลักฐาน เวลาเขตพื้นที่เค้าตรวจ หรือมีการประเมินการดำเนินการ home school ของเรา เค้าก็จะเข้าใจ และจะหมดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจระหว่างพ่อแม่ กับเจ้าหน้าที่ฯ ในเรื่องมาตรฐาน ว่าเราวัดประเมินผลลูกยังไง (ควรระบุตัวชี้วัด จากหลักสูตรแกนกลางด้วยนะคะ ดูว่ามันตรงกับวิชา และกำหนดมาตรฐาน+ตัวชี้วัดอะไรไว้บ้าง ก็เขียนไปในแผนการสอนของเราด้วย

ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่ค่ะ>>>

ข้อเสนอหลักเกณฑ์ และวิธีการในการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 สำหรับการศึกษาทางเลือก ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

**ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ home school โดย…แม่ปุ๋ม กับน้องปัญปัน

การบูรณาการพหุปัญญาเข้าไปในบทเรียน (แบบสหวิทยาการ)

เป็นการจัดบทเรียนเป็นหัวข้อหรือเป็นหน่วย (Theme) ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้ตามศูนย์ต่าง ๆ เช่น

เรื่อง                  สัตว์หายาก

ระดับชั้น            ประถมศึกษา

สื่อการเรียนรู้      ดินน้ำมัน กระดาษโปสเตอร์ อุปกรณ์เรียนศิลปะ เครื่องเขียน เครื่องบันทึกเสียง

หนังสือสัตว์หายาก  เพลงเกี่ยวกับสัตว์

เวลารวม………………ชั่วโมง…………………นาที

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม : เริ่มต้นยังไง จนจบ กิจกรรมการสอนยังไง เราก็เขียนเป็นขั้นๆ 1,2,3 นะคะ

ส่วนใหญ่จะมี 3 ตอน คือ 1)ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นสอน ดำเนินกิจกรรม และ 3) ขั้นสรุป

เช่น

ขั้นนำ  1.  เปิดเพลงเกี่ยวกับสัตว์/เล่านิทาน

ขั้นสอน

1. ให้ลูกอ่านบทความเรื่องสัตว์หายาก/ ดูสารคดีสัตว์/หรือพาไปทัศนศึกษาไปด้วย สอนไปด้วยก็ได้ค่ะ

2. ดำเนินกิจกรรม

ขั้นสรุป

สนทนา/ซักถามขั้นสรุป ลูกนำเสนอผลงาน พร้อมสรุปเนื้อหาจากผลงาน พ่อแม่สรุปให้ฟังอีกครั้ง/ตรวจผลงาน เป็นต้นค่ะ

 

การวัดและประเมินผลพหุปัญญา

Gardner (1993) ได้กล่าวถึงการประเมินพหุปัญญาที่ถูกต้อง ว่าต้องประเมินเชาว์ปัญญาด้านนั้นๆโดยตรง โดยไม่ใช้ด้านอื่นเป็นเครื่องมือในการประเมิน

จากกิจกรรมสามารถประเมินเชาว์ปัญญาด้านภาษา ตรรกะ/คณิตศาสตร์ ได้ด้วยแบบทดสอบข้อเขียน และปากเปล่า ส่วนเชาว์ปัญญาที่เหลือ ยากที่จะประเมินเป็นปรนัย (Objective) แต่ก็สามารถประเมินได้ด้วยวิธีวัดคือ การสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินแผนที่ความคิด (Mind mapping)

เครื่องมือวัดและประเมินผล

1. แบบสังเกตการร่วมกิจกรรม (ตรงเวลา, สนใจร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง, การแสดงบุคลิกภาพในที่ชุมชน และการนำเสนอผลงาน)

2. แบบประเมินแผนที่ความคิด (เนื้อหา, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความสมบูรณ์ของงาน)


เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมเกิน 80% 
2. แบบประเมินแผนที่ความคิด ผ่านเกณฑ์ 80%

กิจกรมเสนอแนะ  จัดกิจกรรมศูนย์พืช และดอกไม้
ปล.เกณฑ์การประเมินผล (ส่วนใหญ่จะประมาณ 70% – 80% นะคะ)

—————————————————————————————–

***ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่เราเขียนไว้ มีดังนี้ค่ะ

เกณฑ์การประเมินผล

แบบประเมิน การเขียนภาพแผนที่ความคิด Mind Mapping
ชื่อ- สกุล …………………………………… ระดับชั้น ………………….
วันที่ …………/……………………/…………….

หากลูกได้ 7 คะแนนขึ้นไป ก็คือผ่านเกณฑ์ เป็นต้นค่ะปล. เกณฑ์ที่เราตั้งไว้ 80% ดังนั้น คะแนนเต็ม 9 คะแนน

ตัวอย่างแบบสังเกตพฤติกรรม









เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนน            9-12       คะแนน            หมายถึง          ผ่านเกณฑ์
คะแนนต่ำกว่า    5             คะแนน            หมายถึง          ไม่ผ่าน/ต้องปรับปรุง

(ลงชื่อ) ผู้ประเมิน……………………………………………

**และหากเราจะวัดด้านภาษา เครื่องมือวัดและประเมินผลก็เอามาปรับใช้ ดังนี้ค่ะ

ตัวอย่างที่ 2 แบบประเมินการเขียนนิทานเรื่องสัตว์หายาก

ชื่อ- สกุล ………………………………………………………….. ระดับชั้น ………………….
วันที่ …………/……………………/…………………………….


 

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา  แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชนาธิป  พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


by กฤดาภรณ์ on Oct 15, 2012

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง