เทคนิคการบันทึกร่องรอยการเรียนรู้ของลูก
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month


จริง ๆ ผมอยากแนะนำแค่การตั้งชืื่อไฟล์ที่บันทึกลงคอมพิวเตอร์ว่า "ให้บันทึก 1 เรื่อง 1 ไฟล์ และตั้งชื่อไฟล์ช่วยในการบันทึก อย่างเช่น วันนี้มีเรื่องประทับใจที่ลูกนับเลขได้ 1 – 20 สิบ เวลา save ไฟล์ผมก็จะเซฟในชื่อ “20140422_นับเลข1-20” หรือ “20140303_ถอดสมการxyได้” คือการใส่ ปี เดือน วัน แบบนี้ (ถ้าเป็นหลักหน่วยต้องมี 0 ข้างหน้าด้วย) เวลาเราสั่งให้เรียงไฟล์ตามชื่อ เราก็จะได้ไฟล์ที่เรียงตามวันเวลาของเหตุการณ์ และถ้าเราอยู่จะหาแต่เหตุการณ์หรือเรื่อง เราก็ไล่ดูแต่ชื่อหลังได้ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา นอกจากนี้เวลาเราหารูปประกอบบันทึกก็ยังทำได้ง่าย เพราะไฟล์รูปจะมีคอลัมน์ที่บอกวันที่ถ่ายทำให้เราสามารถหารูปมาประกอบได้สะดวก" แต่จะเขียนเท่านี้ก็ดูสั้นไปเลยเป็นเนื้อหาดังด้านล่างครับ 

****************************************************


               เมื่อถึงช่วงเขียนรายงานการเรียนรู้ของลูก หลายคนอาจจะรู้สึกปวดหัวกับการจัดทำรายงาน จริง ๆ แล้วปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่ตอนเขียน แต่อยู่ที่ก่อนหน้านั้นตลอด 1 ปี ผมคิดว่าถ้าเราได้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของลูกไว้ มันสามารถช่วยเราในตอนทำรายงานได้มากมาย ประมาณว่ารายงานเราเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ซึ่งถ้ามีระบบการบันทึกที่ดีค้นหาง่ายก็จะยิ่งช่วยได้อีก

1.    บันทึกอะไร ผมก็ไม่เคยคิดว่าควรจะบันทึกอะไร แต่เดาว่าอาจจะมีคนถาม เท่าที่นึกออกคือ บันทึกผลงาน บันทึกเหตุการณ์ที่เราประทับใจ บันทึกอารมณ์ความรู้สึก

2.    บันทึกมากน้อย ถี่บ่อยแค่ไหน บันทึกมากเท่าที่จะบันทึกได้ มีกำลังแค่ไหนในช่วงเวลานั้นก็บันทึกไปเถอะครับ หรือแม้ว่าจะไม่ได้บันทึกมานานแล้วก็ไม่ควรคิดว่าก่อนหน้านี้ไม่ได้บันทึก ตอนนี้ก็เลยเลิก คือฟิตเมื่อไหร่ก็บันทึกเมื่อนั้นดีกว่าครับ เหมือนลงทุนวันนี้ได้ผลตอบแทนวันหน้าประมาณนั้น

3.    ใช้ภาพถ่าย เพลง ช่วยในการเชื่อมโยงความทรงจำของเรา เดี๋ยวนี้มือถือมีกล้อง การมีภาพถ่ายช่วยให้เรานึกย้อนเหตุการณ์ตอนนั้นได้ดีขึ้นและยังเอามาเป็นหลักฐานร่องรอยการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี หรือเปล่าพร้อมเชื่อมโยงกับเพลงหรือชื่อเพลงที่คุณชอบและเข้ากับสถานการณ์ก็อาจจะช่วยให้คุณอยากบันทึกเรื่องราวได้เช่นกัน

4.    มีระบบในการบันทึก ที่ผมใช้และอยากแนะนำคือผมบันทึก 1 เรื่อง 1 ไฟล์ และตั้งชื่อไฟล์ช่วยในการบันทึก อย่างเช่น วันนี้มีเรื่องประทับใจที่ลูกนับเลขได้ 1 – 20 สิบ เวลา save ไฟล์ผมก็จะเซฟในชื่อ “20140422_นับเลข1-20” หรือ “20140303_ถอดสมการxyได้” คือการใส่ ปี เดือน วัน แบบนี้ (ถ้าเป็นหลักหน่วยต้องมี 0 ข้างหน้าด้วย) คือการตั้งชื่อไฟล์แบบนี้ เวลาเราสั่งให้เรียงไฟล์ตามชื่อ เราก็จะได้ไฟล์ที่เรียงตามวันเวลาของเหตุการณ์ และถ้าเราอยู่จะหาแต่เหตุการณ์หรือเรื่อง เราก็ไล่ดูแต่ชื่อหลังได้ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา นอกจากนี้เวลาเราหารูปประกอบบันทึกก็ยังทำได้ง่าย เพราะไฟล์รูปจะมีคอลัมน์ที่บอกวันที่ถ่ายทำให้เราสามารถหารูปมาประกอบได้สะดวก

5.    ใช้โปรแกรมหรือ app ช่วย app ที่ผมแนะนำคือ google Keep นอกจากนี้จะสร้าง page บน facebook ไว้บันทึกก็ได้ครับ แต่ผมไม่แนะนำเท่าไหร่ เพราะข้อมูลรูปภาพทั้งหมดจะเป็นสาธารณะ และมีโอกาสที่ facebook อาจจะปิดเพจของเราได้ แต่ผมก็ทำและพบว่าช่วยให้การค้นหาบันทึกต่าง ๆ สะดวกขึ้นจริง ๆ
 
ครับ ทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคที่ผมนึกออก ท่านใดมีเทคนิคอื่นที่ยากแบ่งบัน comments ด้านล่างได้เลยครับ

ปล. ดูตัวอย่างรายงานที่ผมจัดทำได้ที่นี่

by Patai on Apr 21, 2014

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง