ตัวอย่างการเขียนแผน : การปรับหลักสูตรแกนกลางของโรงเรียนทางเลือก (โรงเรียนบ้านคุณแม่ เชียงใหม่)
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
[พิมพ์เนื้อหาย่อตรงส่วนนี้]
วันนี้ผมได้ไปร่วมการปฐมนิเทศผู้ปกครองของโรงเรียนลูกคนโต คือโรงเรียนบ้านคุณแม่ (ผมทำ Home school ให้ลูกคนเล็ก) และช่วงนี้เพิ่งทำหลักสูตรสำหรับชั้นประถมศึกษา เพื่อขอจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้ลูกคนเล็ก พอดีในเอกสารปฐมนิเทศของโรงเรียน มีรายละเอียดหลักสูตร เลยเอามาฝากเป็นตัวอย่างให้ศึกษากันครับ 
 
ผมคิดว่านอกเหนือจากศึกษาหลักสูตรของบ้านเรียนอื่น ๆ แล้วหลักสูตรของโรงเรียนทางเลือกเป็นอีกหลักสูตรนี่น่าสนใจและคนทำบ้านเรียนน่าจะศึกษาไว้เป็นตัวอย่าง เพราะ
 
1) เป็นที่ทราบกันดีว่าแนวการสอนแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป (ตามแต่ละโรงเรียน) แต่โรงเรียนเหล่านี้ก็ต้องยึดหลักสูตรแกนกลางเป็นแกนหลักในการทำหลักสูตร และน่าจะถูกตรวจสอบและประเมินเข้มข้นกว่าบ้านเรียน เพราะรับผิดชอบเด็กจำนวนมาก และการผลประเมินไม่ดีย่อมมีผลชี้เป็นชี้ตายกับโรงเรียน  ทำให้น่าศึกษาว่า เค้าเขียนหลักสูตรอย่างไร ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน และผ่านการอนุมัติรับรอง
 
2) ต้องยอมรับว่าการจัดทำหลักสูตรของโรงเรียน มีความเป็นวิชาการ อ้างอิงสิ่งต่าง ๆ ที่นักวิชาการศึกษาสนใจมากกว่าหลักสูตรของบ้านเรียน เพราะเขียนขึ้นจากคนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา ทำให้สื่อสารกับสำนักงานเขตได้ง่าย 
 
ซึ่งเท่าที่ผมเคยพูดคุย โรงเรียนทางเลือกนั้นมีการกระทบกระทั่งทางความคิดกับ ศน.เขตบ้างตามภาษา คือต้องคอยชี้ เชื่อมโยงให้ดูว่ากิจกรรม ต่าง ๆ นอกห้องเรียน ที่ดูแล้วเด็กไม่ค่อยได้เรียนหนังสือนั้น มันเป็นไปตามมาตรฐานสาระการเรียนรู้อย่างไร หรือตัวชี้วัดไหนที่ทาง ศน.เห็นว่าขาดก็ต้องชี้จูงพาไปให้เห็น  
 
เริ่มกันเลยดีกว่า ผมตัดมาเฉพาะของประถมศึกษามาให้ดูนะครับ 




ทางโรงเรียนได้จัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ใหม่จาก 8 สาระเหลือ 6 คือเอากลุ่ม "การงานพื้นฐานอาชีพ" "สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม" และ "สุขศึกษาและพลศึกษา" ไปใส่เป็นกลุ่มสาระเพิ่มเติม ให้เรียนแบบบูรณาการเข้ากับ วิทยาศาสตร์
 
ข้อสังเกตว่าวิชาเล็ก ๆ ที่ไม่ได้เป็นที่คาดหวังของสังคมก็จะถูกยุบรวม ๆ กัน ศาสตร์ที่สังคมให้ความสำคัญ ที่จะมองว่าเด็กเก่งไม่เก่งก็ยังคงแยกต่างหาชัดเจน เช่น  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา 
 
อีกส่วนที่ดูเป็นแนวทางได้คือการประเมินผลการเรียนรู้ โดยแบ่งคะแนนออกเป็น 3 ส่วนคือ ชิ้นงาน ผลงาน การบ้าน / จิตพิสัย / การสอบ
 
 
คิดว่าคงมีเพียงเท่านี้ ที่อยากจะย้ำสุดท้ายก็คือ หลักสูตรแกนกลางมีไว้ปรับ ปรับแล้วข้อให้อธิบายให้ได้ เราก็จะได้หลักสูตรที่ไม่แพ้โรงเรียนเลย 
 
ส่วนตัวผมเห็นว่าโรงเรียนไหนปรับน้อย มีแนวโน้มจะไม่ทำงานทางความคิด เพราะแต่ละท้องที่ มีวัฒนธรรม มีนักเรียน ที่แตกต่างกัน และแต่ละโรงเรียน ย่อมมีปรัชญา สิ่งที่อยากเน้นต่าง ๆ ถ้าที่ไหนปรับน้อยแสดงว่า ฝ่ายวิชาการไม่เข้มแข็ง และโรงเรียนที่จะปรับได้มาก ย่อมต้องเข้าใจมากและเชื่อมโยงให้นักการศึกษาเห็นได้ 

เช่นกันเขตการศึกษาไหน อยากให้เราเอาหลักสูตรแกนกลางมาใช้ทั้งดุ้น มีแน้วโน้มเช่นกันที่จะไม่อยากทำงานทางความคิด เป็นอุปสรรคในการปฎิรูปการศึกษาอย่างมาก
 
สุดท้ายขอช่วยประชาสัมพันธ์ว่าทางโรงเรียนมีโครงการรับเด็ก Home school ซึ่งถ้าใครอยู่เชียงใหม่และสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ 
 
http://www.bankunmae.com/news/view/1432787916.html
 
 
 
 


by Patai on May 30, 2015

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง