เขียนแผนส่งเขตง่ายนิดเดียว : การเขียนแผนระดับประถม บ้านเรียนเปื้อนฝุ่น
บทนี้จะเป็นคำแนะนำในภาคปฎิบัติ ผมพยายามทำให้ง่ายที่สุด ส่วนคำอธิบายเชิงหลักการ เหตุผลต่าง ๆ คิดว่าจะไว้เขียนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่คิดไว้ก็ประมาณ "ปฎิรูปการศึกษาด้วยหลักสูตรสถานศึกษา" 

เริ่มแรก ผมขอแนะนำให้ทุกท่านมีเอกสารเหล่านี้อยู่ในมือ 
 
3) แบบฟอร์มเปล่า ผมเตรียมไว้ให้โดยสามารถ download ได้เลยที่นี่ ซึ่งแบบฟอร์มนี้ผมคัดลอกมาจาก เอกสารข้อ 1 แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว หน้า 63 - 64 โดยผมได้เพิ่มเติมส่วนที่จำเป็นต้องมีแต่อาจจะไม่ได้ปรากฎอยู่ในแบบฟอร์มลงไปด้วย 
4) ตัวอย่างหลักสูตรบ้านเรียนอื่น สัก 2 - 3 บ้าน ลองหาดูที่ คลังแผนการศึกษาบ้านเรียน  หรือ แผนการจัดการศึกษาบ้านเรียนเปื้อนฝุ่น 
 
เมื่อเอกสารครบแล้วก็เริ่มกันเลย แนะนำให้พิมพ์รายการต่อไปนี้มาเตรียมไว้ 
 
ก. เอกสารข้อ 3) แบบฟอร์มเปล่า มาดูคู่ไปด้วย
ข. หลักสูตรแกนกลางหน้า 10 - 20 (หัวข้อ สาระการเรียนรู้ - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) 
ค. แผนบ้านเรียนอื่นที่หัวข้อครบ เพื่อให้เห็นภาพการกรอกแบบฟอร์ม 
 
ขั้นที่ 1 ทบทวนตารางชีวิตของลูก
 
ผมขอเริ่มต้นด้วยการทำตารางชีวิตประจำวันของลูก ว่าในช่วง 1 วัน ลูกได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง แตกต่างกันหรือไม่ใน 7 วัน จันทร์ - อาทิตย์ ค่อย ๆ บันทึกกิจกรรม ให้เห็นลักษณะหรือหมวดหมู่ของกิจกรรม และความถี่ เช่น 
 
เช้า ซ้อมดนตรี
สาย ดูทีวี
เที่ยง ทำอาหาร
บ่าย เรียนภาษาอังกฤษ 
เย็น ไปเตะบอล
ค่ำ เล่นคอมพิวเตอร์
ก่อนนอน สวดมนต์ 
 
ซึ่งในแต่ละวันอาจะแตกต่างกันไป รวมถึงกิจกรรมพิเศษเช่น การไปท่องเที่ยว ไปต่างจังหวัด ให้เขียน ๆ จดหรือใส่ตารางไว้ 
 
ขั้นที่ 2 จัดหมวดหมู่ เพื่อแปลงกิจกรรม เป็นกลุ่มประสบการณ์หรือสาระวิชา 
 
2.1 เมื่อเราได้ตารางชีวิตที่มีกิจกรรมต่าง ๆ มาแล้ว ให้จัดหมวดหมู่ เข้าไปดูในเนื้อหาว่า กิจกรรมที่ลูกทำเป็นเรื่องอะไร เช่น ดูทีวี ส่วนใหญ่ลูกดูเรื่องอะไร ได้เนื้อหาสาระอะไรบ้าง หรือกิจกรรมอะไรที่เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องเดียวกัน อยากให้ไปด้วยกัน ก็รวมไว้ในกลุ่มเดียวกัน คือไม่มีถูกผิด เป็นความคิดของเรา อยากรวมอะไรไว้ด้วยกันก็รวมได้เลย แต่ให้อธิบายได้ว่า ทำไมเราถึงคิดว่ามันควรอยู่หมวดเดียวกัน 
 
2.2 เมื่อจัดกลุ่มจัดหมวดได้แล้วก็ตั้งชื่อกลุ่มประสบการณ์ / หรือสาระวิชา  เช่น ของผม เอาดนตรีรวมกับออกกำลังกาย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องการฝึกสมาธิและการฝึกสมองให้เชื่อมโยงกับร่างกายเหมือนกัน ก็ไว้หมวดเดียวกัน เป็นกลุ่มประสบการณ์ ดนตรีและกีฬา ซึ่งจริง ๆ ศิลปะก็ใกล้เคียงจะจับอยู่ด้วยกันก็พอได้ แต่ที่ครอบครัวเราเน้นเน้นศิลปะมาก จึงแยกออกมาอีกกลุ่มประสบกาณ์ เป็นต้น
 
ขั้นที่ 3 เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ 
 
3.1 ให้คิดถึงว่า ลูกชอบทำอะไร สนใจอะไร หรือยังมีเรื่องอะไรที่เราอยากให้ลูกได้เรียนรู้ จดไว้ ถ้าที่ผ่านมาในขั้นตอนที่ 2 ยังไม่มีก็ใส่เพิ่มเข้าไปให้ครบตามที่คาดหวัง
 
3.2 เปรียบเทียบตรวจสอบกับหลักสูตรแกนกลาง แนะนำให้อ่านคราว ๆ ในหัวข้อ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ หน้า 12 - 20 ของหลักสูตรแกนกลาง จะมี 8 สาระวิชา ให้ดูเปรียบเทียบเข้าไปในเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ของลูกที่เราทำไว้แล้ว ว่ามีครบหรือเปล่า อย่างของผมสาระคณิตศาสตร์ก็จะมีแทรกอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ซื้อของ ทำสิ่งประดิษฐ์ ทำกับข้าวกิน ภาษาไทยก็อ่านป้าย อ่านหนังสือ ไม่ควรเกร็งและตกใจกับเนื้อหาสาระที่ระบุไว้มาก หากทบทวนดี ๆ โดยเฉพาะในระดับประถม ถ้าเราใช้ชีวิตประจำวันที่มีกิจกรรมหลากหลายก็แทบจะครบทุกสาระวิชาแล้ว 
 
ประเด็นสำคัญก็คือ ผมแนะนำว่า ให้ใส่ไปตอนท้ายของกลุ่มประสบการณ์ที่เราทำขึ้น หาที่เขียนอธิบายว่ากลุ่มนี้เทียบได้กับสาระวิชาอะไรในหลักสูตรแกนกลาง คือการที่เราทำกลุ่มสาระวิชา ให้เป็นกลุ่มประสบการณ์นั้นถือเป็นการบูรณาการเนื้อหาวิชาเข้าไปในกิจกรรมที่สร้างประสบกาณ์ต่าง ๆให้กับลูก  เจ้าหน้าที่เขตจำเป็นต้องตรวจว่าหลักสูตรเราว่าเมื่อบูรณาการไปแล้ว มีเนื้อหาสาระครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะไม่ใส่ก็ได้ แต่ถ้ามีทำให้เราสื่อสารกับเ้จ้าหน้าที่เขตได้ง่ายขึ้น เมื่อเขาเห็นว่ามีครบไม่ต้องแก้ไขใส่เพิ่ม แต่ถ้าเค้าคิดว่าขาด ก็อาจจะขอให้เราเพิ่มเติม เราก็ต้องมาเสียเวลาอธิบายกันอีกว่าบูรณาการเข้าไปที่ไหนยังไง 
 
ขั้นตอนที่ 4. ทำตารางในข้อ 7 การจัดการสาระการเรียนรู้ ในแบบฟอร์ม 
 
เมื่อเราทำถึงขึ้นตอนที่ 3 เราก็จะได้คอลัมน์แรกคือกลุ่มสาระประสบกาณ์หรือสาระการเรียนรู้ กับคอลัมน์ที่ 3 คือกิจกรรมใน ตาราง ข้อ 7 
การจัดสาระการเรียนรู แล้ว เหลือช่องตรงกลางคือ เปาหมายคุณภาพผูเรียน ตรงนี้คราว ๆ ก็คือว่า ลูกเราได้เรียนรู้ หรือได้อะไรจากกิจกรรมต่าง ๆ ถ้าคิดไม่ออกก็แนะนำให้เปิด หน้า 12 - 20 ของหลักสูตรแกนกลาง ตรงหัวข้อ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ช่วยถ้าอันไหนตรงกับกิจกรรมของลูกเราก็สามารถใส่เข้าไปได้เลย หรือถ้าเราคิดอะไรที่เป็นของเราได้ก็ใส่เข้าไป 
 
ถึงตรงนี้ถือว่า เราได้หัวใจของแผนแล้ว ผมคิดว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของแผน ก่อนจะไปต่อขอมีข้อแนะนำ ซึ่งผมสังเกตว่าหลาย ๆ บ้านจะเป็นกันมาก คือ เพิ่งเริ่มทำไม่รู้ะเขียนอะไร หรือว่าเอะ ทำไปแล้ว เดี๋ยวกิจกรรมลูกก็เปลี่ยนอีก เขียนล่วงหน้าตั้ง 3 ปี 6 ปี แ้้ล้วถ้าอีกหน่อยไม่ได้ทำตามนี้ละจะเป็นยังไง
 
ต้องให้เข้าใจก่อนว่าเรากำลังทำแผนคือการคาดการณ์ไว้ว่าจะทำ แต่ถ้าไม่ได้ทำ ทำไม่ได้ ปรับเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร เราก็สามารถอธิบายได้ในรายการผลการจัดการศึกษา การทำบ้านเรียนเอื้อให้เราจัดการเรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ถามว่าใครรู้ดีที่สุดก็คือลูก
 
และนี่คือจุดแข็งที่สุดของหลักสูตรบ้านเรียน คือเราสามารถปรับแผนปรับหลักสูตรในทางปฎิบัติได้ทุกวินาที ตามความสนใจของลูก เขียนเสร็จวันนี้ปรับพรุ่งนี้เลยก็ได้ อยากให้สังเกตปีของหลักสูตรแกนกลางของประเทศ คือปี 2551 นี่ผ่านมา 7 ปีแล้ว ยังไม่มีการปรับหลักสูตรเลย ลองนึกย้อนไป 7 ปีที่แล้วสิครับ ว่ามือถือเราหน้าตายังไง มี tablet ใช้กันไหม 7 ปีโลกเปลี่ยนไปแค่ไหน......หลักสูตรยังอยู่ที่เดิม (ขออภัยที่นอกเรื่องอดไม่ได้ T T)
 
ขั้นตอนที่ 5 กรอกข้อมูลให้ครบ
 
โดยคร่าว ๆ การกรอกแบบฟอร์มในแต่ละหัวข้อถ้าไม่แน่ใจว่าจะกรอกหรือเขียนอะไร ให้กลับไปดูหัวข้อเดียวกันที่หลักสูตรแกนกลาง ถ้าคิดว่าจะทำแบบนั้นก็ลอกลงไปได้เลยครับ 
 
เรามาไล่กันทีละข้อเลย
 
1. ขอมูลพื้นฐานของครอบครัว ไม่มีอะไรมากใส่ข้อมูลกันไป 

2. ขอมูลพื้นฐานของผูเรียน ตรงนี้การอธิบายให้เห็นตัวตนของเด็ก จะทำให้ปูพื้นฐานไปสู่ลักษณะของหลักสูตรที่เราจะจัด เช่น ลูกชอบใช้ร่างกาย ถนัดด้านกีฬา ลูกชอบศิลปะ ชอบดนตรี แต่ถ้ายังไม่ชัดเจนก็ไม่เป็นไรเล่าไปตามที่เป็น เป็นการบันทึกพัฒนาการลูก 

3. ระดับที่จัดการศึกษา + เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว อธิบายไปตามความคิดได้เลยครับ 

 
4. จุดมุงหมายของการจัดการศึกษา แนะนำให้ copy ของหลักสูตรแกนกลางมาไว้เลยครับ ตามที่เข้าใจมาคือจุดหมายของการศึกษาอยู่ในกฎหมาย เราไปตัดทอนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงไม่ต้องเสียเวลาคิดแต่งใหม่ แต่เราสามารถเขียนเพิ่มเติมได้ จะเพิ่มก่อนหน้าหรือเพิ่มหลังก็ได้ครับ
 
5. รูปแบบการจัดการศึกษา (โปรดระบุ) อันนี้ผมว่ามันแปลก ๆ แต่ก็เลือกหรืออธิบายตามที่เป็นครับ อย่างบ้านผมก็ทั้งจัดเดี่ยวและพบกลุ่มบ้างก็อธิบายไป หรือเช็คไปตามที่เป็น 
 
6. โครงสร้างเวลาเรียน อันนี้คือในตอนที่ผมเขียนแผนยังไม่มี เป็นน้ำหนักความสำคัญของวิชา หรืออย่างบ้านเรียนก็คือ กลุ่มประสบการณ์ จะเป็นตัวบอกว่าในแผนเราให้ความสำคัญกับเรื่องใด  แนะนำว่าให้ดู หน้า 23 ของหลักสูตรแกนกลาง หัวข้อ โครงสร้างเวลาเรียน และแปลงตารางในข้อ 7 ที่เป็นกลุ่มประสบการณ์/สาระวิชาของเรา ให้เป็นรูปแบบคล้าย ๆ กัน คุมจำนวนชั่วโมงให้ใกล้เคียงกันกับหลักสูตรแกนกลาง และก็แบ่งชั่วโมงไปตามกลุ่มประสบการณ์ที่เราตั้งไว้ ดูว่ากลุ่มไหนจะใช้เวลาเยอะก็ใส่เยอะ
 
7. การจัดสาระการเรียนรู เราทำตารางเสร็จแล้ว ช่วงต้นก็อธิบายตาราง เชื่อมโยงให้เห็นว่าเป็นสาระวิชาไหนของหลักสูตรแกนกลาง
 
8. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือมันเป็นรูปแบบของโรงเรียน พวก แนะแนว ออกไปทัศนศึกษา แต่เราบ้านเรียนก็มักมีกิจกรรมแบบนี้เป็นประจำเช่นพวกไปเที่ยว กิจกรรมจิตอาสา ซึ่งผมคิดว่า ใส่ "ได้แก่ กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมแนะแนว และ กิจกรรมสาธารณประโยชน์แบบบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มประสบการณ์ ตามโอกาสและจังหวะเวลาที่เหมาะสม" ไปเลยก็ได้ครับ พอรายงานการจัดการเรียนรู้ประจำปีก็ค่อยเล่าว่าไปที่ไหนยังไงมาบ้าง 
 
9. การจัดกระบวนการเรียนรู จากตารางในข้อ 7 ทำให้คนอ่านเห็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับลูก แต่ยังไม่เห็นว่าภาพรวมว่า เราเรียงร้อย กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างไรเล่าให้เห็นภาพว่าการเรียนรู้ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างไร จากการพาลูกไปเข้ากลุ่ม เรียนรู้จาก internet youtue หรือเรียนรู้จากชั้นเรียนตามสถาบันต่าง ๆ คืออาจจะงง ๆ หน่อย ถ้าคิดไม่ออกแนะนำให้ ลอก หลักสูตรแกนกลางหน้า 25 หัวข้อการจัดการเรียนรู้ เอามาปรับให้ได้ดังใจก็ได้ครับ 

10. การวัด และประเมินผลการเรียนรู ผมใส่เนื้อหาให้ในแบบฟอร์มแล้ว ถ้าข้อไหนจะไม่ใช้ก็ให้ตัดออกหรือปรับตามแต่ละบ้าน ที่สำคัญคือ ระบบการให้ระดับผลการเรียน ให้เลือกตามที่สบายใจได้เลย โดยดูจาก หน้า 40 ของแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว หัวข้อ 3.3 การให้ระดับผลการเรียน โดยผมเลือกให้ 2 ระดับ คือผ่าน กับไม่ผ่าน เพื่อสะท้อนปรัชญาการศึกษาที่ไม่ให้ได้ความสำคัญกับคะแนน และตัดปัญหาการโต้เถียงเรื่องคะแนนกับเจ้าหน้าที่เขต ซึ่งรออ่านรายละเอียดได้ใน "ปฎิรูปการศึกษาด้วยหลักสูตรสถานศึกษา" ครับ 
 
11. อื่นๆ ถ้ามีก็ใส่ไปได้เลย   / ถ้าดูในแบบฟอร์มต้นฉบับจะพบตารางหลังข้อ 11 ซึ่งในแบบฟอร์มเก่าอยู่รวมในข้อ 7 และไม่มี 2 คอลัมน์ขวาสุด คือหัวข้อ การวัดและประเมินผล กับ หลักฐานร่องรอยจากการเรียนรู้ ซึ่งผมว่าเป็นหัวข้อที่ดีสำหรับการจัดทำรายการการเรียนรู้ประจำปี แต่ถ้าใส่มาในแผนน่าจะยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ครับ 
 
จบแล้วครับ ถึงตรงนี้คุณก็สามารถตรวจสอบความเรียบร้อย หรือปล่อยเวลาไว้สักพักแล้วค่อยกลับมาตรวจสอบทบทวนแผนอีกสักหน่อย ก็สามารถส่งเขตได้เลย ยินดีด้วยครับ ^ ^
 
ปล. สุดท้ายที่อยากจะบอกคือเขียนแผนส่งเขตอาจจะไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนคิดครับ แต่สื่อสารเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันที่ดีกับเจ้าหน้าที่เขตอาจจะยากกว่า อย่างไรก็พยายามใจเย็น ๆ และเข้าใจข้อจำกัดของเจ้าหน้าที่กันหน่อยนะครับ :)

*** update ล่าสุด 29 กุมภาพันธ์ 2559 ****

หมายเหตุ หากท่านเห็นว่า คำแนะนำการเขียนแผนนี้ยังยากและซับซ้อนเกินไป เมื่อท่านเขียนแผนเสร็จแล้ว ขอให้ช่วยกันบอกเล่า บันทึก วิธีเขียนแผนที่ง่ายกว่านี้เผยแพร่ด้วย 

ติดตามการเรียนรู้ของสีฝุ่นได้ที่ www.facebook.com/foonhome หรือ www.seefoon.com

 


by Patai on Sep 24, 2015

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง