แผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

ระดับชั้น [ดูข้อ 3]

[ชื่อบ้านเรียน]

[ชื่อ สกุล นักเรียน]

  

 

 

 

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา [ชื่อสำนักงานเขตที่จดทะเบียน] 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สารบัญ

1. ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว

2. ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน

ส่วนที่ 1 ระดับที่จัดการศึกษา/เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว/จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา/รูปแบบการจัดการศึกษา

ส่วนที่ 2 โครงสร้างเวลาเรียน

ส่วนที่ 3 การจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/กระบวนการจัดการเรียนรู้/การวัดและประเมินผล

ส่วนที่ 4 อื่นๆ

1. ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว

บิดา อายุ ปี
การศึกษา :
ประสบการณ์ :
อาชีพ :
ที่อยู่ปัจจุบัน :
ติดต่อ :

มารดา อายุ ปี
การศึกษา :
ประสบการณ์ :
อาชีพ :
ที่อยู่ปัจจุบัน :
ติดต่อ :

2. ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน

2.1 ข้อมูลของผู้เรียน
อายุ 2568 ปี
วัน-เดือน-ปีเกิด 30/11/-0001
ประวัติการศึกษา :

2.2 พัฒนาการของผู้เรียน

ส่วนที่ 1 ระดับที่จัดการศึกษา/เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว/จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา/รูปแบบการจัดการศึกษา

3. ระดับที่จัดการศึกษา/เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว

ระดับการศึกษาของแผน (เลือกข้อใดข้อหนึ่งตามช่วงชั้น)

ระดับประถมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3)
ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)

เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว

(สามารถเขียนใหม่หรือใช้ข้อความต่อไปนี้ได้) เนื่องจากครอบครัวต้องการดูและส่งเสริมลูกอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ลูกได้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งในด้านร่างกาย ความคิดและจิตใจ ประกอบกับเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การเข้าถึงความรู้เป็นไปได้โดยง่าย ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อออนไลน์ ชั้นเรียน การฝึกอบรมต่าง ๆ เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองในหลากหลายเรื่อง ทางครอบครัวจึงให้ความสำคัญกับแรงบันดาลใจหรือความสุขในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ตลอดจนต้องการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ บุคลิก ลักษณะนิสัยของลูก จึงตัดสินใจจัดการศึกษาโดยครอบครัว

4. จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

ครอบครัวใช้แนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด 4 มาตรา 23 มีหลักการและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของลูก โดยยึดตามจุดหมาย สมรรถนะ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะ ชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกําลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ
การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มีจิตสาธารณะที่มุ่งทําประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

เราสามารถเพิ่มเติมจุดมุ่งหมายได้ตามความประสงค์ของครอบครัว

5. รูปแบบการจัดการศึกษา

1. จัดการศึกษาแบบครอบครัวเดียว เนื่องจากไม่สามารถร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม บ้านเรียน หรือครอบครัวอื่น และมีความสนใจเฉพาะด้านแตกต่างกัน
2. จัดการศึกษาแบบมีข้อตกลงร่วมกับโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่น โดยมีการเข้าไปใช้ทรัพยากรในโรงเรียนหรือเข้าไปทํากิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากต้องการให้บุตรได้มีความรู้ประสบการณ์ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบโรงเรียน
3. จัดการศึกษาแบบกลุ่มครอบครัวที่มีแนวคิดคล้ายๆ กัน เป็นการจําลองสังคมเล็กๆ เชื่อว่าการ เชื่อมโยงกับกลุ่มเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการของบุตรได้
4. อื่นๆ (ระบุ).......................

ส่วนที่ 2 โครงสร้างเวลาเรียน

6. โครงสร้างเวลาเรียน

ในส่วนของข้อ 6 และ 7 เกี่ยวกับโครงสร้างเวลาเรียนและการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้จัดการศึกษาสามารถตั้งกลุ่มประสบการณ์ขึ้นมาเอง ตามความต้องการของครอบครัวหรือเลือกใช้ 8 กลุ่มสาระที่มีในหลักสูตรแกนกลางได้คือ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

โดยแผนฉบับสากลนี้ได้จัดทำ สร้างกลุ่มประสบการณ์สำเร็จรูปให้แล้วจำนวน 10 กลุ่มพร้อมคำบรรยาย ซึ่งท่านสามารถแก้ไขชื่อและคำบรรยายได้ตามต้องการ และหากไม่มีกลุ่มประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของครอบครัว ท่านสามาถสร้างขึ้นใหม่แล้วเขียนคำบรรยายเพิ่มเติมได้

กลุ่มภาษา เรียนเกี่ยวกับภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ตามความสนใจของเด็ก
กลุ่มประสบการณ์ภาษาต่างประเทศ
กลุ่มประสบการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มประสบการณ์ศิลปะ
กลุ่มประสบการณ์ดนตรี
กลุ่มประสบการณ์สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มประสบการณ์คณิตศาตร์และการใช้เหตุผล
กลุ่มประสบการณ์เกษตรและการพึ่งตนเอง
กลุ่มประสบการณ์ศรษฐศาสตร์และการเงิน
กลุ่มประสบการณ์อาหารและโภชนาการ
กลุ่มประสบการณ์อื่น ๆ (ครอบครัวสร้างขึ้นตามความต้องการ)
ข้อแตกต่างระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้กับกลุ่มประสบการณ์ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้จะมีลักษณะที่มีการเรียนการสอน การเรียนจากหนังสือหรือสื่อต่าง ๆ แต่กลุ่มประสบการณ์เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็กเข้าร่วม หรืออาจเรียนรู้กิจกรรมประจำวัน ตามวิถีชีวิต ซึ่งอาจจะมีลักษณะบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

ครอบครัวจัดการเรียนรู้เป็นรายปี โดยมีโครงสร้างดังนี้

กลุ่มประสบการณ์ /กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ตามตารางในข้อ 7) เวลาเรียน
  ป.1 (ชั่วโมง/ปี) ป.2 (ชั่วโมง/ปี) ป.3 (ชั่วโมง/ปี)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 200 200 200
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 200 200 200
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 200 200 200
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 200 200 200
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 200 200 200
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 200 200 200
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 200 200 200
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์ด้านภาษา 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์ศิลปะ 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์ดนตรี 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์สุขศึกษาและพลศึกษา 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์คณิตศาตร์และการใช้เหตุผล 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์เกษตรและการพึ่งตนเอง 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์ศรษฐศาสตร์และการเงิน 200 200 200
กลุ่มประสบการณ์อาหารและโภชนาการ
200 200 200
กลุ่มประสบการณ์อื่น ๆ (ครอบครัวสร้างขึ้นตามความต้องการ) 200 200 200
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 120 120
รวมเวลาเรียน 1000 (ป.1-6 รวมไม่เกิน 1000 / ม.1-3 รวมไม่เกิน 1200 / ม.4-6 รวมไม่น้อยว่า 1200) 1000 (ป.1-6 รวมไม่เกิน 1000 / ม.1-3 รวมไม่เกิน 1200 / ม.4-6 รวมไม่น้อยว่า 1200) 1000 (ป.1-6 รวมไม่เกิน 1000 / ม.1-3 รวมไม่เกิน 1200 / ม.4-6 รวมไม่น้อยว่า 1200)
  นำเวลาเรียนหารใส่ในกลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ดังตัวอย่าง หรือถ้าแต่ละกลุ่มประสบการ/กลุ่มสาระวิชา เราต้องการเน้นแตกต่างกัน ก็ให้มากน้อยตามแต่ลูกเราจะใช้เวลามากน้อยในกลุ่มไหน (เสร็จแล้วแถวนี้ลบทิ้งทั้งหมด)

ส่วนที่ 3 การจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/กระบวนการจัดการเรียนรู้/การวัดและประเมินผล

7. การจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์

ครอบครัวเลือกจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ "กลุ่มประสบการณ์" ตามหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2521 สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้เกิดคุณภาพการเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้ครอบคลุมชุดความรู้ตามมาตรา 23 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เทียบเคียงคุณภาพผู้เรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่เกิดเป็นสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างเป็นองค์รวม โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นสำคัญตามสาระหลักของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (และฉบับแก้ไข) โดยจัดแผนการเรียนรู้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (การศึกษาทางเลือก) 

ในการจัดสาระการเรียนรู้นั้น ทางครอบครัวให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคล และกระบวนทัศน์แบบ “องค์รวม” คือ ศาสตร์ต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงเริ่มต้นจาก ความสนใจของเด็ก ทรัพยากร บุคลากรและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว
โดยการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนเด็กเรียนรู้เองแบ่งเป็น ......... กลุ่มดังนี้ (เลือกเฉพาะกลุ่มที่เหมาะสมกับครอบครัวตนเอง)

กลุ่มประสบการณ์ด้านภาษา
กลุ่มประสบการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มประสบการณ์ศิลปะ
กลุ่มประสบการณ์ดนตรี
กลุ่มประสบการณ์สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มประสบการณ์คณิตศาตร์และการใช้เหตุผล
กลุ่มประสบการณ์เกษตรและการพึ่งตนเอง
กลุ่มประสบการณ์เศรษฐศาสตร์และการเงิน
กลุ่มประสบการณ์อาหารและโภชนาการ
กลุ่มประสบการณ์อื่น ๆ (ครอบครัวสร้างขึ้นตามความต้องการ)

โดยแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มีรายละเอียดดังนี้

7.1 กลุ่มประสบการณ์ด้านภาษา
เรียนเกี่ยวกับภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆเรียนรู้ในการใช้ภาษาต่าง ๆ เพื่อการสื่อสาร แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก โดย ประกอบด้วย สาระสำคัญ ดังนี้
1) ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหวางบุคคลอย่างเหมาะสม
2) ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความสัมพันธ์ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาต่าง ๆ
3) ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการ เชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และ เปิดโลกทัศน์ของตน
4) ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก การใช้ภาษาต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงกับสังคมโลก

7.2 กลุ่มประสบการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
เรียนรู้ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่าง บุคคลต่าง ๆ ที่เรียงร้อยเป็นสังคม มีวัฒนธรรม ความคิดความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามบริบท ของประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เชื่อมสัมพันธกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถปรับตนเองกับบริบทสังคมที่แตกต่างกันได้ เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม

7.3 กลุ่มประสบการณ์ด้านศิลปะ
เรียนรู้เพื่อสร้างเสริมจินตนาการ ทักษะในกระบวนการคิด วางแผน การทำงาน การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ทั้งในด้านการใช้ร่างกายและการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ การเลือกสี วัสดุต่าง ๆ เพื่อการถ่ายทอด ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ผ่านงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ

7.4 กลุ่มประสบการณ์ด้านกลุ่มดนตรี
เรียนรู้ดนตรีในฐานะภาษาเพื่อสื่อสาร ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดผ่านเสียง ผ่านร่างกายหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ฝึกฝนการเชื่อมโยงสมองและร่างกาย สร้างเสริมจินตนาการ และสุทรียภาพ

7.5 กลุ่มประสบการณ์ด้านสุขศึกษาและพลศึกษา
เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ความเข้าใจในร่างกาย ความเจ็บป่วย เพื่อสามารถดูแลร่างกายและจิตใจให้มีสุขภาพที่ดี มีกิจกรรมที่ส่งเสริมความแข็งแรงของร่างกาย ผ่านการออกกําลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านรางกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เรียนรู้ เข้าใจอารมณ์ และจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

7.6 กลุ่มประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรียนรู้และทำความเข้าใจโลก ผ่านกระบวนสร้างความรู้ ตั้งแต่การหาข้อมูลต่าง ๆ เรียนรู้ผ่านองค์ความรู้เดิม การสังเกต จัดบันทึก ทำความเข้าใจ ปรากฎการณ์ เหตุกาณณ์ต่าง ๆ การนำข้อมูลความรู้มาวิเคราะห์ประมวลผล ทดสอบ ตรวจทาน และต่อยอดความคิดใหม่ ๆ ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้โลก จึงสามารถเรียนรู้ได้ในหลากหลาย หัวข้อ หรือสาระวิชา เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ นิเวศวิทยา โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น

7.7 กลุ่มประสบการณ์ด้านคณิตศาตร์ และการใช้เหตุผล
เรียนรู้คณิตศาสตร์ในแง่มุมต่าง ๆ
1) ในฐานะเครื่องมือในชีวิตประจำวัน การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การคิดคำนวณ การช่างตวงวัด การหาคำตอบต่าง ๆ
2) ในฐานะระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม
ทั้งนี้ซึ่งเป็นไปตามความสนใจของผู้เรียน

7.8 กลุ่มประสบการณ์ด้านเกษตรและการพึ่งตนเอง
เรียนรู้การจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน และทุน โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตจากทั้งพืชและสัตว์ เสริมสร้างทักษะ การวางแผน การคำนวณทรัพยากร เรียนรู้ทำความเข้าใจสภาพภูมิอากาศและฤดูกาล ฝึกฝนทักษะการปฎิบัติงานด้านกาารเกษตร

7.9 กลุ่มประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน
เรียนรู้การจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ ฝึกวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือองค์กรทำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด เรียนรู้เกี่ยวกับการเงิน การบริหารจัดการเงิน และทรัพยากรของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

7.10 กลุ่มประสบการณ์ด้านอาหารและโภชนาการ
เรียนรู้เกี่ยวกับการทักษะทำอาหารและขนมต่าง ๆ การเลือกและความเป็นมาของวัตถุดิบ ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแต่ละท้องที่ เชื่อมโยงถึงวัฒนธรรมและระบบนิเวศที่แตกต่างกันในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงการช่าง ตวงวัด คุณสมบัติที่แตกต่างกันของสสาร อุณหภูมิ แรงดัน เรียนรู้เรื่องสารอาหาร ที่ส่งผลต่อสุขภาพและการเกิดโรค ตลอดจนกระบวนการของร่างกายในการรับประทาน ,ย่อย ,ดูดซึม ,ลำเลียง และ ขับถ่าย สารอาหาร

7.11 กลุ่มประสบการณ์อื่น ๆ
ครอบครัวสามารถสร้างกลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ตามที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต

สรุปกระบวนการเรียนรู้

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์ 1 (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีทั้ง 2 เช่น กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มประสบการณ์ท่องเที่ยวธรรมชาติ)

เป้าหมายคุณภาพผู้เรียน ที่มุ่งหวังในชั้นปี/ช่วงชั้น/ระดับการศึกษา กิจกรรม (สามารถนำมาจากตารางชีวิต/ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันมาปรับใส่ให้เหมาะสม/ ในทางกลับกันถ้าต้องการบรรลุเป้าหมาย หรือยากให้ลูกพัฒนาด้านใดก็กำหนดกิจกรรมให้นำไปสู่การพัฒนาด้านนั้น)
   

2. กลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์ 2 (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีทั้ง 2 เช่น กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มประสบการณ์ท่องเที่ยวธรรมชาติ)

เป้าหมายคุณภาพผู้เรียน ที่มุ่งหวังในชั้นปี/ช่วงชั้น/ระดับการศึกษา กิจกรรม 
   

หมายเหตุ : เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนที่มุ่งหวังเป็นไปตามความประสงค์ของครอบครัวผู้จัดการศึกษา สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม

8. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตอาสานึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ใช้องค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติจากการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียนมาปฏิบัติกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสาคัญได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ เกิดทักษะการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังตัวอย่างกิจกรรมดังนี้
 
8.1 กิจกรรมแนะแนว ได้แก่ ค้นคว้าข้อมูลด้วยตัวเองทางอินเตอร์เน็ต จากการพูดคุย ซักถามผู้เชี่ยวชาญ ทัศนศึกษา เป็นต้น
8.2 กิจกรรมนักเรียน ได้แก่ เล่นดนตรี กีฬา ร้องเพลง ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ เป็นต้น
8.3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ได้แก่ ระดมทุนบริจาคช่วยเหลือผู้เดือดร้อน รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 
 
9. กระบวนการจัดการเรียนรู้

เป็นการจัดตามวิถีชีวิตของครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมและการฝึกอบรม ผสมกับการเรียนรู้ในชั้นเรียนต่าง ๆ

10. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

10.1 แนวทาง/วิธีการวัด และประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลในรูปแบบการเรียนรู้ของครอบครัวใช้การประเมินผลตามสภาพจริงโดยครอบครัว ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายดังนี้
1) การสังเกตและการจดบันทึกทั้งที่เป็นตัวหนังสือ ภาพถ่าย คลิบวิดีโอ
2) การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าแต่ละด้านของผู้เรียน
3) การเทียบระดับจากหนังสือเรียนที่ใช้ หรือประกาศนียบัตรต่าง ๆ
4) การประเมินผู้เรียนจากบุคคลภายนอก เช่น ครูผู้สอน หรือผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ
5) การทำแบบทดสอบ ข้อสอบ
6) การสนทนา สอบถามและสัมภาษณ์ผู้เรียน
ทั้งนี้การเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินเป็นไปตามความเหมาะสมอาจจะมีการใช้หรือไม่ใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งได้

10.2 การตัดสินผลการเรียน
1) ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด
2) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่ครอบครัวกําหนด
3) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
4) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่ครอบครัวกำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

10.3 ระดับผลการเรียน
1) ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายกลุ่มประสบการณ์ / สาระวิชา ครอบครัว เลือกใช้ระดับคุณภาพการให้ระดับผลการเรียน 4 ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
ผู้เรียนมีผลการประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป ให้ได้รับผลการเรียน ระดับดีเยี่ยม
ผู้เรียนมีผลการประเมินอยู่ระหว่างร้อยละ 65 - 79 ให้ได้รับผลการเรียน ระดับดี
ผู้เรียนมีผลการประเมินอยู่ระหว่างร้อยละ 50 - 64 ให้ได้รับผลการเรียน ระดับผ่าน
ผู้เรียนมีผลการประเมินต่ำกว่าร้อยละ 50 ให้ได้รับผลการเรียน ระดับปรับปรุง (หรือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามตารางด้านล่าง เสร็จแล้วลบตารางทิ้ง)

ระบบตัวเลข ระบบตัวอีกษร ระบบร้อยละ ระบบที่ใช้คำสำคัญสะท้อนมาตรฐาน
5 ระดับ 4 ระดับ 2 ระดับ
4 A 80 - 100 ดีเยี่ยม ดีเยี่ยม ผ่าน
3.5 B+ 75 - 79 ดี ดี
3 B 70 - 74
2.5 C+ 65 - 69 พอใช้
2 C 60 - 64 ผ่าน
1.5 D+ 55 - 59 ผ่าน
1 D 50 - 54
0 F 0 - 49 ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน


2) การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผลการประเมินเป็น ดีเยี่ยม ดี และผ่าน
3) การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็น ผ่านและไม่ผ่าน

10.4 เกณฑ์การจบการศึกษา
1) ผู้เรียนเรียนรู้ตาม กลุ่มประสบการณ์/ สาระวิชา ได้รับการตัดสินผลการเรียนอยู่ในระดับผ่านขึ้นไป
2) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับผ่านขึ้นไป
3) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับผ่านขึ้นไป
4) ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และมีผลการประเมินอยู่ในระดับผ่านขึ้นไป

ส่วนที่ 4 อื่นๆ

11. อื่นๆ (ครอบครัวสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนได้)

Source