การลงบัญชีทหารกองเกิน (หรือที่มักเรียกกันอยู่โดยทั่วไปว่า "การขึ้นทะเบียนทหาร")
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยเมื่อ อายุ 17 ปี บริบูรณ์ ย่างเข้า 18 ปี ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน ตามภูมิลำเนาของบิดา
- ถ้าบิดาถึงแก่กรรม ให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของมารดา
- ถ้าบิดา มารดา ถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของผู้ปกครอง (ผู้อุปการะโดยเอกสารทางกฎหมาย)
- และเมื่อลงบัญชีทหารกองเกินเสร็จแล้วจะได้รับใบสำคัญ (แบบ สด.9)
โดยนำหลักฐานไปลงบัญชีทหาร ดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. สูติบัตร (ถ้ามี)
* อายุ 17 ปี บริบูรณ์ หมายถึงครบ 17 ปีเต็มแล้วและเข้าสู่ปีพ.ศ.ที่ขึ้นอายุ 18. จากประสบการณ์พบว่านายทะเบียนหรือสัสดีทหารมักนับตามปีพ.ศ.เมื่อขึ้นเดือนมกราคมของปีนั้น ๆ (ไม่ใช่ชนวันและเดือนเกิดอย่างที่หลายคนเข้าใจ แม้กระทั่งเจ้าหน้าีที่แผนกงานอื่น ๆ ในสำนักงานเขตหรือที่ทำการอำเภอเองก็ยังมองไม่ตรงกันครับ) ..และพบว่าบางท้องที่มีการยึดเอาปีที่เข้าอายุ 17 แทนที่จะเป็นปีที่ขึ้นอายุ 18. ซึ่งต่างกับกรณีเกณฑ์ทหารที่ว่ากันปีที่ขึ้นอายุ 21 เลย ..การขึ้นทะเบียนทหารนี้จึงต้องควรลองติดต่อดูตั้งแต่ปีที่เข้าอายุ 17 ครั้งหนึ่งก่อนครับ เรื่องนี้ยังมีความคลาดเคลื่อนทางวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแต่ละท้องที่อยู่ครับ.
- ผู้ปกครองสามารถนำหลักฐานไปยื่นแทนได้
- กรณีบุคคลมีอายุเลยจากที่ระเบียบกำหนดแล้วและยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนทหาร ต้องไปติดต่อด้วยตัวเองเท่านั้น. จนถึงช่วงอายุ 46 ปีบริบูรณ์
การรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (หมายเรียก/หมายเกณฑ์นะครับ ตรงนี้สด.35 ..ส่วนที่รับเมื่อผ่านพิธีการวันตรวจเลือกช่องเดือนเมษายนของปีนั้น คือ สด.43)
- บุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว (มีใบสด.9 แล้ว) เมื่อ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ย่างเข้า 21 ปี ต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) ภายในปี พ.ศ. นั้น ๆ (ที่ขึ้นอายุ 21)
- กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปรับหมายเรียกแทน จะต้องมีหนังสือรับมอบอำนาจ และนำหลักฐานไปยื่นต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้
1. ใบสำคัญ (สด.9)
2. บัตรประจำตัวประชาชน
by วีณาฑัต on Dec 24, 2012
Posted in ไม่มีหมวดหมู่