โซนบริการที่นั่งชั้นสองปิดบริการ แต่หน้าร้านเปิด ยังมาซื้ออาหารและเครื่องดื่มได้อยู่ครับ
ส่วนชั้นสอง น้องบาริสต้ากับผู้ช่วยแม่ครัวปรับไปทำงานกับคอมพิวเตอร์กันแล้ว
กำลังทำแผนช่วยเหลือสังคมกันต่อ
https://www.facebook.com/Jo.Sriyapan/posts/3649546281785045
March 22,2020
ความช่วยเหลือค่อยๆ หลั่งไหลเข้ามาครับ
น้องเรามีโรงงานอีลาสติกยางยืดสำหรับทำหน้ากาก เส้นหนา เนื้อนุ่มไม่บาดหูบาดหน้า
ขายราคามิตรภาพมาก และมีราคาสนับสนุนเฉพาะสำหรับงานของบุคลากรทางการแพทย์ให้ด้วย หรือใครจะช่วยซื้อเพื่อแจกจ่ายไปยังจุดที่ต้องการก็ร่วมสมทบทุนซื้อได้ครับ
https://www.facebook.com/Jo.Sriyapan/posts/3650042381735435
March 25, 2020
งานหลวงงานราษฎร์เราก็ไม่ให้ขาด
ระหว่างนี้ร่วมประสานกลุ่มกู้ภัยโควิดหลายกลุ่มครับ ทั้งอาสาสมัคร หมอ maker programmer จนถึงนักธุรกิจโรงงานผลิตวัตถุดิบ ที่มาร่วมด้วยช่วยกัน เป็นกำลังให้แบบไม่ออกหน้าออกตามากมาย ต้องของคุณทุกๆ คนด้วยครับ
ร้านเราก็ไม่ได้ปิดนะครับ take away เท่านั้น เราจะดูแลอาหารเพื่อชุมชนให้ถึงที่สุดครับ
https://www.facebook.com/Jo.Sriyapan/posts/3660224567383883
เกณฑ์น้องในร้านและผองเพื่อนมาทำ face shield ส่งโรงพยาบาลที่ขาดแคลน
ขอบคุณแม่อ้อ Tanida Disyabut และกลุ่ม หน้ากากช่วยเพื่อน สำหรับวัสดุและการประสานงานครับ
โจทย์เปลี่ยน กระบวนการก็เปลี่ยน
"การดูแลอาหารให้กับชุมชน"
โจทย์ และ mission ใหม่สำหรับเราในวันนี้ ซึ่งนำมาถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการมากมาย โดยพยายามรักษาคุณค่าของแบรนด์ไว้
วันนี้ยอดสั่งอาหาร delivery ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากพื้นที่รอบๆ ใกล้ๆ ร้าน ซึ่งน้องๆ นำของไปส่งด้วยตนเอง เน้นการยืนห่าง ยื่นสินค้าจากระยะห่าง ไม่เข้าไปใกล้ชิดคน เซฟตัวเอง เซฟลูกค้า รับจ่ายเงินด้วย QR Code หรือถ้ารับเงินสด เก็บแล้วให้ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ เป็นการทำงานและฝึกนิสัยใหม่ไปพร้อมๆ กัน
มาทำงาน ตรงกลับบ้าน ไม่ไปสังสรร รักษาตัว ไม่รับหรือกระจายโรค และดำเนินธุรกิจต่อให้ได้ ช่วยเหลือสังคมเท่าที่ทำได้
โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
https://www.facebook.com/Jo.Sriyapan/posts/3669783606427979
March 28, 2020
ว่างจากทำอาหารส่ง ระดมกำลังกันทำหน้ากาก face shield สำหรับบริจาคให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน ขณะที่กำลังประสานความช่วยเหลือกับอีกหลายๆ ทีม
https://www.facebook.com/Jo.Sriyapan/posts/3669847096421630
March 30, 2020
บันทึกการปรับตัวของร้านกาแฟแห่งหนึ่งย่านเจริญกรุง
ปิดประเทศถึง 12 เมย.
ปิดต่อถึง 30 เมย.
บางจังหวัด lock down แล้ว
แน่นอนว่า การอยู่บ้านดูซีรี่ส์ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่คิดกันได้ตอนนี้
แล้วยังไงต่อ ...ขยายเวลาปิดประเทศถึงพค. ถึงมิย.
เข้าหน้าฝน คนป่วยจะเพิ่ม ขยายเวลาปิดถึง พย. รอเปิดกิจการแถวๆ ใกล้ปีใหม่ หรือเปล่า ถ้ายังเปิดได้นะ
พักสมองอยู่บ้านสักสองสามวันก็ดีครับ
จากนั้นทุกคนต้องคิดถึงอนาคตต่อเลย องค์กรจะไปยังไง บริษัทจะไปยังไง ชีวิตจะเดินหน้าอย่างไร จะออกแบบวิธีการกันอย่างไร เพื่อให้แต่ละงานดำเนินต่อได้ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะ WFH ได้หมด ไม่ใช่ว่าทุกกิจการจะ go online ได้หมด และยิ่งถ้าคิดว่าเรายังต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้อีกสักพัก ..หรืออีกนาน
หลายกิจการปรับตัวแล้วครับ บ.ทำชุดชั้นใน เปลี่ยนมาทำหน้ากาก ร้านอคริลิค ทำตู้ป้องกันเชื้อแพร่กระจาย maker หลายคนกำลังร่วมกันออกแบบเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ ไม่นับว่ายังมีคนอยู่แนวหน้ากำลังเสี่ยงชีวิตเพื่อเราอยู่
โลกอาจจะกลับมาเหมือนเดิม หรืออาจเปลี่ยนไปตลอดกาล เราไม่มีทางรู้ แค่เราเลือกได้ว่าจะนั่งรอให้ทุกอย่างสงบ หรือลุกขึ้นมาทำอะไรเลยวันนี้ โดยเฉพาะข้าราชการและมนุษย์เงินเดือนนะครับ
หรือในอีกไม่นาน คงมีคนแต่งตำราสอนวิธีออกแบบวิธีทำงานยามวิกฤต เราก็รอจ้างเค้ามาสอน รอซื้อเครื่องมือช่วยทำงานแบบช่วยให้ไม่ติดเชื้อ รอซื้อเทคนิคกระบวนการ ไม่ต้องคิดเอง ไม่ต้องทำเอง
Th.visor rc1 (ชื่อชั่วคราว) ดัดแปลงพัฒนาจากแบบต่างๆ เกือบทั่วโลก ทดสอบกับหมอและพยาบาล หมอใช้แล้ว ชอบแล้ว จะซื้อแล้ว ความร่วมมือของหลายฝ่ายครับ ผมไม่ได้ทำไร แต่เค้าให้ผมเป็นคนเปิดตัวแจก
ว่าจะเอาไฟล์ขึ้นแจกคืนนี้ แต่หลับซะก่อน เดี๋ยวตื่นอีกทีค่อยว่า
"อย่าให้เครื่องดับ"
"ช่องทางใหม่"
"ทำไปเรียนรู้ไป"
และ
"รอดให้ได้"
...คีย์เวิร์ดที่ดีครับ
https://www.facebook.com/Jo.Sriyapan/posts/3717804218292584
ปรับตัว, ขาย online, WFH เป็นคำที่พูดง่ายกว่าทำ และทำคนเดียวง่ายกว่าทำให้ทีมปรับตัวไปด้วยกัน
ช่วงต้นของการปรับตัวในธุรกิจ ตามมาด้วยความปั่นป่วนของทีมงาน ทั้งความไม่คุ้นชิน การขาดทักษะที่จำเป็น การลองผิดลองถูกในสิ่งที่เราไม่อาจรู้ได้ว่าอะไรผิดหรืออะไรถูก การนำฟีดแบ็คมาปรับปรุง ยากจะบอกได้ว่าเราเปลี่ยนแผนช้าไปหรือเร็วไป ไม่นับความกดดันต่างๆ ที่เข้ามาอีกสารพัด ภายใต้เงื่อนไขใหม่ๆ หรือข้อมูลใหม่ๆ ที่เข้ามาตลอด
เราเริ่มจาก pain ของคนในพื้นที่ ที่หลายๆ ร้านปิด หรือไม่มีที่นั่งกิน การปรับไปใช้บริการ delivery ผ่าน application ต่างๆ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงสำหรับลูกค้า หรือในส่วนของผู้ขายที่ต้องจ่าย GP ทำให้ต้องลดปริมาณหรือคุณภาพวัตถุดิบ ในขณะที่มีการแข่งขันในระดับเดียวกันสูงมาก รวมถึงมีการลดราคาตัดราคาจนยากที่หน้าใหม่ๆ จะแทรกตัวเข้าไปชิงพื้นที่จากร้านที่มีการทำตลาดหรือมีฐานลูกค้ามาก่อนได้
อะไรที่เราเห็นจากสื่อ หรือได้ยินว่ากำลังดัง แล้วเข้าไป me too กับเขาด้วย อาจไม่ใช่คำตอบ เขาทำแบบนี้กัน แล้วเราเข้าไปทำด้วย และอีกพันคนหลังเราก็แห่เข้ามาทำตามๆ กัน สุดท้ายจะมีสิบคนที่มาเล่าว่าวิธีการนี้สำเร็จ ...แต่อีกเก้าร้อยเก้าสิบคนที่ล้วน me too ในช่องเดียวกัน ก็หายไปแบบเงียบๆ
เราหา value ใหม่ๆ ให้กับตนเอง และนำไปสู่แนวทางปฏิบัติ ที่บางอย่างก็ออกมาได้ดังใจบ้าง ไม่ได้บ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง
หนึ่งเดือนของการทำงานเชิงรุก ยอดขายค่อยๆ เพิ่มขึ้น เริ่มเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย เราเริ่มมีลูกค้าประจำ ที่ฝากท้องกับร้านเราวันละสามมื้อ ยอดสั่งขยับขึ้นเรื่อยๆ แบบมั่นคง แม้จะยังไม่ถึงระดับที่สามารถสร้างผลกำไรได้เมื่อเทียบกับยามปกติ แต่ก็ทำให้เห็นทิศทางและโอกาสใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
เพิ่งยกแรก เพิ่งก้าวแรกๆ ของปฏิบัติการ "ปรับตัว" หนทางยังอีกยาวไกล ยากจะบอกได้ว่าเราจะไปได้จนสุดทางหรือเปล่า แต่ที่สำคัญคือสิ่งนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นจากการทำงานคนเดียว หรือจากการออกคำสั่งให้คนอื่นไปทำ แต่มาจากการเห็นคุณค่าร่วมกัน และลงมือทำงานตามหน้างานของสมาชิกแต่ละคนในทีม ซึ่งก็ต้องขอบคุณพี่ๆ และน้องๆ ทุกคนด้วยครับที่สู้กันไม่ถอยจริงๆ
กรุ๊ป มนุษย์บางรัก สำหรับคนในชุมชนบางรักและคนที่สนใจสินค้าและผู้คนในเขตบางรักครับ พ่อค้าแม้ค้ายังมีอีกมากที่ยังไม่ได้เข้าถึง online application หรือไม่สามารถ "ปรับตัว" แบบเท่ๆ ได้ และหลายๆ คน หลายๆ ร้านถือได้ว่าเป็นตำนานของท้องถิ่น
หลายปีก่อน ผมเคยมีสิ่งหนึ่งที่รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ทำคือตอนที่รถไฟฟ้ามาลงใกล้ๆ บ้าน แล้วทำให้ร้านข้าวขาหมูร้านหนึ่ง (อร่อยมาก) ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น ทั้งๆ ที่เปิดขายเป็นตำนานของท้องถิ่นมากว่า 50 ปี เคยคิดว่าเราควรลุกขึ้นมายืนพูดเพื่อร้านนี้ เพื่อรักษาร้านนี้ไว้ แต่ก็ไม่ได้ทำ
วันนี้ เวลานี้ ผมไม่อยากรู้สึกแบบนั้นอีก ก็ขอเป็นตัวแทนของคนบางรัก พูดแทนร้านค้ารายย่อย ตำนานท้องถิ่น ที่กำลังโดนผลกระทบจากสถานการณ์ covid-19 นี้
บันทึกการปรับตัวของร้านกาแฟแห่งหนึ่งย่านเจริญกรุง
ตั้งแต่เริ่มวิกฤต Covid-19 มา สิ่งหนึ่งที่เราคุยกันในร้านก่อนเลยคือ ดูแลชุมชน ดูแลคนแถวนี้
เราเริ่มต้นจากคนใกล้ตัวที่สุด พนักงานในร้านมีอาหารกินทุกมื้อ และถือกลับไปกินบ้าน ตามมาด้วยอาหารถุงฟรีวันละสองมื้อ สำหรับเจ้าหน้าที่ พนักงานทำความสะอาด รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ในโครงการ ก็ช่วยกันดูแล อย่างน้อยก็ได้มีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายของเหล่าพนักงานในเวลาที่ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า และเงินสดคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกคนต้องถนอมไว้
ต่อด้วยโครงการแจกอาหารถุงสำหรับชุมชน ซึ่งยังไม่ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายเสียทีเดียว
จนเราเปลี่ยนเป็นอาหารกล่องราคาเป็นมิตร ใช้วัตถุดิบคุณภาพ รสชาติดีปริมาณอิ่มท้อง กับอาหารง่ายๆ ที่พนักงานออฟฟิซกินได้ทุกวัน ประชาสัมพันธ์โดยเดินไปแนะนำตัว knock door แจกเมนู เดินไปส่งด้วยตนเอง และส่งฟรีสำหรับพื้นที่ใกล้ๆ เน้นการส่งพื้นที่ใกล้ๆ ก่อน โฟกัสที่ตึก คอนโด คนทำงานแถวนี้
ทุกอย่างถือเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะเราเพิ่งเปิดร้านช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลูกค้ามุ่งหวังเป็นนักท่องเที่ยว หรือคนจากนอกพื้นที่แทบจะร้อยเปอร์เซนต์ รวมทั้งการจัดการร้านยังไม่ค่อยเรียบร้อย แล้วมาประสบเหตุ Covid แทบไม่มีลูกค้าเลยในเดือนมีนาคม กับประกาศเพิ่มเติมของรัฐที่มีความเปลี่ยนแปลงแทบจะรายวัน จนทำอะไรแทบไม่ถูกว่าควรจะปิดร้านก่อน หรือทำอย่างไรดี ทุกอย่างทำกันเอง ทำโบรชัวร์เอง เดินไปแจกกันเอง ไปแนะนำตัวเอง ทุกอย่างเป็นเรื่องใหม่สำหรับน้องๆ ทีมงาน ที่ไม่ได้คาดว่าจะต้องมาทำงานแบบนี้
จนข้อสรุปของทีมจากความคิดตั้งต้นเดียวคือ we care เราห่วงใย ตั้งแต่คนใกล้ๆ ตัว คนรอบๆ เพื่อนบ้าน คนในชุมชน เราตัดสินใจไม่ปิดร้าน และเปลี่ยนเป็นปฏิบัติการดูแลชุมชน โดยยังคงการทำธุรกิจได้ด้วย และผลของความพยายามค่อยๆ เริ่มปรากฎให้เห็น
เดินหน้าต่อไปครับ
จากการปรับ "คุณค่า" ของร้านเป็นการดูแลคนรอบข้าง ดูแลชุมชน เราขยับขยายไปสู่เพื่อนบ้านรอบๆ ข้างด้วย โดยการเปิดกลุ่ม มนุษย์บางรัก เป็นตลาด เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์สำหรับคนในพื้นที่ และสำหรับร้านค้า แผงค้า รายย่อยที่ไม่ได้เข้าถึง delivery platform หรือยังไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาด delivery กระแสหลักได้ ไม่ว่าด้วยความพร้อม ค่าใช้จ่าย หรือกระทั่งวิธีบริการ โดยส่งน้องๆ ในร้านไปพูดคุย ทำความรู้จัก ถ่ายรูปเก็บข้อมูล และประชาสัมพันธ์ให้ทั้งชื่อที่อยู่ร้าน เบอร์โทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่อ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
และเริ่มประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนในพื้นที่หรือละแวกใกล้เคียงได้มีโอกาสเห็น และเลือกสนับสนุนร้านค้าในท้องถิ่น ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับค่าส่งหรือค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ
ส่วนนี้ อาจจะไม่ได้กลับมาเป็นรายรับของร้านเราโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุน "คุณค่า" และ "ความเชื่อ" ของสิ่งที่ร้านกาแฟแห่งนี้กำลังทำอยู่ เป็นส่วนหนึ่งของการแปลงคุณค่าสู่วิธีปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และออกจากกรอบกระบวนการเดิมๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดและฝึกอบรมกระบวนการเหล่านี้ให้กับน้องๆ พนักงานในร้านให้เห็นผ่านเนื้องานจริงๆ ด้วย
ก็ขอฝากสนับสนุนโครงการมนุษย์บางรัก โครงการน้องใหม่นี้ด้วยครับ
https://week.facebook.com/groups/BangrakPeople
อีกสิ่งหนึ่งเราได้ทำกันมาตลอดหนึ่งเดือน มีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น อาจจะนับตั้งแต่ผมไลน์ไปในกลุ่มภายในของร้าน แจ้งกับหุ้นส่วนว่าขออนุญาตใช้พื้นที่ร้านเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการประสานความช่วยเหลือกรณี covid-19
เราได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมผลิต face shield แบบ DIY สำหรับบริจาคร่วมกับกลุ่ม หน้ากากช่วยเพื่อน ไปจนร่วมทีมออกแบบ face shield ด้วย 3D Printer กับทางสวทช. และแก้ไขปรับปรุงเพื่อนำไปสู่กระบวนการฉีดพลาสติกในแบบอุตสาหกรรม และยังมีการพัฒนาต่อยอดต่อเนื่องอยู่ รวมถึงงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทดแทนอีกหลายชนิด
ระหว่างนั้นก็มีงานประสานความช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาลที่ขาดแคลนวัสดุทางการแพทย์ แต่ต้องรับผู้ป่วยแบบกระทันหันในจังหวัดภาคใต้ อุดช่องโหว่เรื่อง supply แบบด่วนๆ ชนิดที่บอกตอนสี่ทุ่ม ส่งของตอนเช้า ระหว่างที่รอกำลังหลักจากภาครัฐตามกระบวนการปกติ จนถึงยังมีงานทดลองแนวทางแก้ปัญหา หาเครื่องมือหรือกระบวนการทดแทน สำหรับกรณีขาดวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น
ไม่ได้ทำคนเดียวหรือเฉพาะทีมเราครับ เรื่องนี้ต้องยกเครดิตให้กับเพื่อนๆ อาสาสมัครอีกหลายกลุ่มหลายทีมที่ร่วมทำเรื่องนี้ด้วยกัน ได้เห็นน้ำใจ เห็นคนที่มาทำงานเบื้องหลัง โดยไม่ได้ออกหน้า ไม่ได้รับเครดิตใดๆ มากมาย
อาจจะดูนอกเรื่อง บันทึกการปรับตัวฯ แต่ก็อยากบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัว การสร้างคุณค่าใหม่ จากการเป็นส่วนหนึ่งของการตอบปัญหาสังคมอย่างจริงจัง ไม่ละเลย ละทิ้ง หรือเอาตัวรอดเพียงลำพังในยามวิกฤต ก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกๆ คนที่มองเห็นคุณค่านี้ร่วมกันด้วย
by Joompot Sriyapan on Apr 27, 2020
Posted in เรื่องเล่าโฮมสคูล