นำทางบันทึก : ภาษามีผลกับเรายังไง
จริงๆแล้วกรอบความคิดและทักษะส่วนหนึ่งของเรา เป็นผลมาจากภาษาที่เราใช้ ทำไมน่ะเหรอ...?
อาจจะสงสัยว่าทำไมคนจีนเก่งเลข ทำไมคนไทยถูกปลูกฝังเรื่องความอาวุโสตั้งแต่เด็ก
ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากภาษาของเรานั้นเอง
ในทุกประเทศจะมีความคิดและวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกันนั้นก็เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างกันนั่นเอง
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ได้ทำการวิจัยและทดลองคนในประเทศต่างๆ  ทำให้ได้รู้ว่าภาษาไม่ได้ส่งผลแค่กับความคิดและทักษะของเราเท่านั้น แต่มันอาจจะเป็นถึงตัวกำหนดความคิดของเราเลย!
และนี่ก็เป็น Linguistic Relativity ทฤษฎีสัมพันธภาพทางภาษา
คิดโดย เอ็ดเวิร์ด ซาเพียร์ และ เบนจามิน วอร์ฟ
และยังมีอีกสองแนวคิดย่อยก็คือ
1. Linguistic Determinism ภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของเรา
2. Linguistic Relativity คนที่ใช้ภาษาต่างกันจะมีมุมมองและวิธีคิดที่ต่างกัน
 
ทำไมผลเป็นแบบนี้ได้ เบนจามิน วอร์ฟ ได้ทำการเทียบระหว่างภาษายุโรป กับ ภาษาอเมริกันอินเดียนหรือ Hopi
ในภาษายุโรปเวลาจะมีตัวตนเหมือนสิ่งของทั่วๆไป นับเป็นหน่วยได้ เหมือนกับสิ่งของที่นับเป็นชิ้นๆ
แต่ถ้าหากนับเวลาเป็นวินาทีหรือชั่วโมง จะเป็นการมองว่าเวลาเป็นสิ่งที่มีตัวตน
ซึ่งการให้ความสำคัญกับเวลาแบบนี้ ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์อย่างปฏิทิน, นาฬิกา
หรือทำให้เกิดความสนใจในอดีต อย่างการบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆในประวัติศาสตร์
หรืออย่างภาษาอังกฤษก็จะมีคำเฉพาะสำหรับ อดีต, ปัจจุบัน, อนาคต นั้นเอง
 
ต่างกับที่ทาง hopi มองเวลาเป็นเพียงแค่สิ่งที่ไม่มีตัวตนมาแล้วก็ไปวนลูปไปเรื่อยๆ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวลา แต่ให้ความสำคัญกับปัจจุบันซะมากกว่า
 
ที่ชาวอะบอริจินมีความเชี่ยวชาญในด้านการระบุทิศทางก็เพราะภาษาที่พวกเขาใช้เช่นกัน
พวกเขาจะไม่บอกทิศทางหรือรู้จักคำว่าซ้ายหรือขวาเลย
เพราะชาวอะบอริจินจะบอกทางโดยการใช้ศัพท์ตามเข็มทิศแทน
เช่น “มีมดเกาะอยู่บนขาข้างตะวันตกเฉียงใต้"
 
หรือไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการแยกเฉดสีของชาวรัสเซีย เพราะเขาจะมีคำเฉพาะของสีต่างๆเช่นฟ้าอ่อนจะเรียกว่า"โกลูบอย” ส่วนสีฟ้าเข้มเรียกว่า “ซีนีย์” ในขณะที่อังกฤษไม่ว่าจะเป็นฟ้าเข้มหรืออ่อนก็ใช้คำว่า blue เหมือนๆกันแค่เติมข้างหลังไปว่าเข้มหรืออ่อน
 
และยังมีเรื่องที่ว่าทำไมคนไทยจึงไม่เก่งปรัชญา เพราะว่าจากที่นำทางเคยแปลหนังสือปรัชญาจากอังกฤษเป็นไทยแล้วเนี่ย ยากมากเพราะที่ไทยไม่มีศัพท์เฉพาะเหมือนภาษาอังกฤษ ทำให้การถ่ายทอดออกมาเป็นคำยากมาก
 
และภาษาก็ส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมอีกด้วยไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องลำดับขั้นหรือความอาวุโส
โดยมีการแทนตัวเองและเรียกผู้อื่นในแบบต่างๆมากมายเพื่อแสดงถึงสถานะของตัวเองหรืออีกฝ่าย 
หรือคำว่า ครับ หรือ ค่ะ ท้ายประโยคเพื่อแทนความเคารพต่ออีกฝ่าย
ในขณะที่ฝั่งยุโรปไม่มี มีแค่ you เพื่อเรียกผู้อื่น หรือ me เพื่อแทนตัวเองเท่านั้น ซึ่งชอบตรงนี้มากๆเลยหล่ะ มันไม่ใช่ไม่มีมารยาทแต่มันคือการลดความแตกต่างระหว่าชนชั้นด้วยเช่นกัน(ที่พูดถึงหมายถึงในอดีตหน่ะ)
 
นี่ก็ทำให้ได้รู้ว่าภาษาคือสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความคิดของผู้คนแต่ละพื้นที่ สำหรับคนที่พูดได้หลายภาษาจึงจะสามารถมองโลกได้กว้างกว่าก็ไม่แปลกเลย

by Numthang on May 25, 2021

Posted in ร่องรอยการเรียนรู้

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง