ของเล่นยุคใหม่
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
เล่นแนวธรรมชาติกันมาเยอะแล้ว ลองมาดูของเล่นแนวอุตสาหกรรมกันบ้าง

...เคยเขียนเรื่องนี้ไปบ้างแล้วว่าของเล่นญี่ปุ่นถูกสร้างมาเพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ค่อนข้างดี ลูกข่างที่บ้านเราทำ ร้อยปีก่อนเล่นกันอย่างไร วันนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น เป็นไม้กลึงกลมๆ ตอกตะปู เอาเชือกพันๆ แล้ว ดึง ...แต่ของญิี่ปุ่นมีทั้งระบบไจโร ตรงแกนมีลูกปืนลดความฝืดในการหมุน สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เด็กๆ เรียกว่า โม (modify) ได้หลากหลายรูปแบบ
การเคลื่อนไหวของลูกข่างเบย์เบลดนี้ก็ถูกพัฒนาจนกระทั่งเคลื่อนที่ได้แบบไม่น่าเชื่อ มีทั้งแบบหมุนอยู่กับที่ หมุนโคจรไปรอบๆ หมุนวิ่งเข้า-ออก หรือเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ โดยใช้หลักกลไกล้วนๆ
[break] 

นั่นคือแม้แต่เรื่องที่ดูเหมือนเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นลูกข่าง ญี่ปุ่นก็สามารถนำไปต่อยอดได้อีกมาก องค์ความรู้เรื่องการสร้างระบบบังคับสำหรับลูกข่างนี้ไม่ธรรมดาครับ คนจบวิศวะฯ บ้านเราให้เอามาคิดสร้างลูกข่างแบบนี้ก็ใช่ว่าจะทำกันได้

โดยส่วนตัวพ่ออาจจะไม่ค่อยเห็นด้วยเรื่องของเล่นแนวอุตสาหกรรม ที่พยายามดึงเงินออกจากกระเป๋าเด็ก (และพ่อแม่เด็ก) แต่ของเล่นบางอย่างก็สามารถใช้เรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ ได้ไม่น้อย และเมื่อเลือกที่จะ "ซื้อ" ให้ลูกเล่นแล้ว กระบวนการที่สำคัญที่เด็กจะได้เรียนรู้ต่อไปคือ "ท่าที" ของพ่อแม่ทั้งก่อนซื้อและต่อจากนั้น 

เช่น
รอดูจังหวะและเวลาที่เหมาะสม เช่นลดราคา มีโปรโมชั่น ของมือสอง หรือแลกเปลี่ยนกับเพื่อน
ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในแง่มุมต่างๆ
ให้ลูกวางแผนการซื้อเอง เช่นเก็บเงินเอง 
บางคนอาจใช้กระบวนการให้เป็นรางวัลกับลูกเวลาที่ทำอะไรบางอย่างได้ตามเป้าหมาย ...อันนี้ในความเห็นส่วนตัว ที่บ้านเราไม่ใช้ระบบรางวัล-ลงโทษ ถ้าอยุ่ในอำนาจที่พ่อแม่จะให้ เราจะคุยกัน และการให้จะให้โดยไม่มีเงื่อนไข

การศึกษานี้ แต่ละคน แต่ละบ้าน อาจมีกระบวนการที่แตกต่างกัน และมีการสอนที่แตกต่างกัน 
ยกตัวอย่างจากเบย์เบลดนี้ก็ได้ เช่นคนที่อยากเป็นนักแข่งมืออาชีพ อาจมองในแง่การลงทุนและผลตอบแทน การซื้อลูกข่างรุ่นใหม่ๆ นั้น "คุ้ม" เพราะมีโอกาสชนะในการแข่งมากกว่า รางวัลที่ได้และโอกาสต่างๆ ที่ได้รับมีมูลค่า "คุ้ม" การลงทุน นั่นคือการอาศัยช่องทางหรือกระบวนการของการตลาดยุคใหม่นั้นเองในการสร้างโอกาสให้กับตนเอง 

ขั้นที่สองคือกระบวนการเล่น กระบวนการศึกษา ทีท่าในการเล่น
มาที่ลูกข่างนี้อีก กระบวนการเล่นของลูก เขาใช้คำว่า "ฝึกซ้อม" ได้เห็นลูกทดลองรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่การดึงแรง ดึงเบา ปล่อยลูกข่างในมุมที่แตกต่างกัน ทดลองเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ แล้วทดสอบซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้จะเป็นการ "เล่น" แต่สิ่งที่ลูกได้จริงๆ คือ "กระบวนการเรียนรู้" นี่เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่ว่าสักแต่ว่าทำๆๆๆ ไปโดยไม่ได้เรียนรู้ แต่กระบวนการเรียนรู้คือ มีการศึกษาแง่มุมต่างๆ มีการทดสอบความเป็นไปได้ต่างๆ มีการฝึกฝนจนเกิดทักษะความชำนาญ และสุดท้ายคือการควบคุมตนเองซึ่งเป็นเรื่องยากมากๆ

วันที่ลูกได้ลูกข่างมา วันนั้นมีการจัดแข่งขันพอดี เข้มขอ "หยุดเรียน" เพื่อไปแข่ง
พ่อ "OK"

เช้าวันถัดมา พ่อชวนน้องครามอ่านหนังสือต่อ ครามบอกว่า "กำลังเล่นเบย์เบลดอยู่"
พ่อ "OK"

หลายครั้งพ่ออาจจะหลุด...ไม่ OK  แต่พ่อก็อยากเชื่อใจลูก อยากให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะเติบโตขึ้นด้วยตนเอง รู้จักความพอเหมาะพอควรสำหรับตนเอง มากกว่าที่จะทำเพราะ "พ่อสั่ง"  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็อีตอนลูกได้เจอกับสิ่งที่มีพลังดึงดูดสูงระดับนี้เท่านั้นแหละ

by Jo on Sep 10, 2012

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น
No tags found

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน
No related posts found
โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง