วัคซีนที่มีไว้ฉีดให้กับพวเรามีข้อดีข้อเสียยังไงบ้างนะ
เรื่องที่หลายๆคนอยากรู้ก่อนลงทะเบียนฉีดวัคซีน ก็คงเป็นเรื่องสองยี่ห้อวัคซีน อย่าง แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนแวค ที่โดนถามถึงแทบจะทุกวัน ว่า ประสิทธิภาพ และ ผลข้างเคียง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จะสามาถรคุ้มครองได้มากน้อยแค่ไหน
นายแพทย์สมชัย ลีลาศิริวงศ์ ผู้เป็นที่ปรึกษาผู้จัดการความเสี่ยง โรงพยาบาลพระรามเก้า ได้ให้ข้อมูลว่า วัคซีนที่เอาไว้ใช้ป้องกันโรค covid-19 ทั้งหมดในปัจจุบัน โดยหลักๆก็จะมีอยู่ 4 แบบ โดยแบ่งจากเทคนิคที่เอาไว้ใช้ในการผลิตวัคซีน covid-19
สำหรับคนที่มีผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักจะมีอาการร่วมกัน อย่างเช่น จุดปวด, บวม, แดง, คัน, หรือช้ำ ตรงจุดฉีดวัคซีน, อาการคลื่นไส้, มีไข้, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังรวมถึงรู้สึกอ่อนเพลียและไม่สบายตัว ซึ่งเป็นผลข้างเคียงชนิดที่ไม่รุนแรงสักเท่าไหร่ ที่สามาถรพบแทบในวัคซีนทุกชนิด
สิ่งที่คนไทยกำลังกังวลคือข่าวผลข้างเคียงที่รุนแรง! อย่างภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า! สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ได้ประกาศว่าวัคซีนชนิดนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกันกับอากรนี้ หลังจากที่มีรายงานว่าพบผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มแรก
แต่ยังไงก็ตามหลายๆหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขระดับโลกก็ได้รายงานตรงกันว่า "หากเทียบสัดส่วนประชากรที่รับการฉีดแล้ว ภาวะดังกล่าวมีสัดส่วนเกิดขึ้นต่ำมาก" เมื่อได้รับกรพิจารณาในภาพรวมแล้ว หลายฝ่ายจึงได้ให้ข้อสรุปว่า การเดินหน้าฉีดวัคซีนเพื่อลดโอกาสเสียชีวิตจาก covid-19 จะมีประโยชน์มากกว่าการระงับใช้วัคซีนไปเลย”
ส่วนอีกหนึ่งส่วนที่กำลังเข้าสู่ประเทศไทยหลักล้านอย่างซิโนแวคถึงแม้ล่าสุดจะมีการพูดถึงอาการข้างเคียงคล้ายอัมพฤกษ์ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทเพียงชั่วคราว แต่ก็ยังคงไม่มีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจนในหัวข้อดังกล่าว...
ด้วยรายงานต่างๆของทั้ง แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนแวค ก็อาจจะยังไม่สามาถรที่จะยกวัคซีนทั้งสองให้เป็นความหวังของประเทศไทยได้ณตอนนี้
แต่อย่างน้อยๆทั้งคู่ก็เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลกแล้ว และยังมีการอนุมัติให้ได้ใช้แล้วในหลายๆประเทศ และยังผ่านการขึ้นทะเบียนและก็ได้รับการอนุมัติโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทยอย่างถูกต้องด้วย!
รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ได้ให้ข้อมูลวัคซีนทั้งสองชนิดเอาไว้ด้วยล่ะว่า “ในประเทศไทย จะใช้ แอสตร้าเซนเนก้า ฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป บริเวณต้นแขนรวม 2 โดส ห่างกัน 10-12 สัปดาห์ และหลีกเลี่ยงการฉีดให้กับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก ส่วน ซิโนแวค จะฉีดให้กับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี บริเวณต้นแขนรวม 2 โดสเช่นกัน แต่ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ และยกเว้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ระบาดรุนแรง จะต้องฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์เท่านั้น”
“ประเทศไทยเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงทั้ง 4 ไปแล้ว ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า, ผู้มีโรคประจำตัวหรือโรคกลุ่มเสี่ยง, ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งหลังจากมีการนำเข้าวัคซีนมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เริ่มดำเนินการวางแผนงานฉีดวัคซีนให้คนทั่วไป กับโรงพยาบาล 1,500 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงโรงพยาบาลพระรามเก้า ผ่านแพลตฟอร์ม หมอพร้อม”
เอาล่ะคิดยังไงกันบ้างนะ สส่วนตัวแล้วพอลองอ่านดูก็รู้สึกกลัวนิดๆแหะ...
by Numthang on May 08, 2021
Posted in ร่องรอยการเรียนรู้