มาเล่นกันเถอะ Loose Part kits โครงการลูสพารตส์คิดส์ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
พัฒนาการด้านร่างกาย : มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ : มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข, มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว, มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจดีงาม พัฒนาการด้านสังคม : มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย, มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พัฒนาการด้านสติปัญญา : มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย, มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้, มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์, มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
 
โครงการลูสพารตส์คิดส์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ 👇👇👇
จำนวน 12 ครั้ง กับหนังสือนิทาน 4 เล่ม
การเล่นแบบลูสพารตส์ “Loose Part Play” คืออะไร?
พ่อเเม่มีบทบาทอย่างไรในการสนับสนุน การเล่น Loose Part ของลูก?
 
การเล่นลูสพารตส์ (Loose Part) คืออะไร?
การเล่นแบบ Loose Part หรือชื่อไทยคือ “การเล่นกับสิ่งของหรือชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายได้” คือแนวทางการเล่นที่ฝึกให้เด็กได้เล่นกับสิ่งของรอบตัวผ่านการสำรวจสิ่งที่เด็กสนใจ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งการเล่นแบบ Loos Part เกิดจากแนวคิดที่ว่า . “เด็กทุกคนล้วนต้องการที่จะสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง” .
 
เพราะฉนั้นเด็กจะมีความต้องการที่จะเล่นกับทุกๆ สิ่งที่สามารถเติมเต็มความรู้สึกอยากรู้อยากเห็นของเขา และทำให้เกิดความสนุกและเห็นคุณค่าของผลลัพธ์จากการค้นพบสิ่งต่างๆ ในระหว่างการเล่นนั่นเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้ ค้นคว้า ค้นพบ สำรวจ และสร้างสรรค์ ผ่านการเล่นนั่นเอง .
 
พ่อเเม่มีบทบาทอย่างไรในการสนับสนุน การเล่น Loose Part ของลูก? .
พ่อแม่ที่เข้าใจการเล่น Loose Part จะมีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนการเล่นของลูก ซึ่งบทบาทของพ่อแม่คือการให้ลูกตัดสินใจและควบคุมการเล่นด้วยตัวเขาเอง ซึ่งจะเป็นไปตามสัญชาตญาณ ความคิด และความสนใจ ที่ตัวลูกมี รวมทั้งไม่ควรจะมีการลงโทษหรือต่อต้านลูกด้วยการระงับการเล่น ซึ่งพ่อแม่ควรส่งเสริมให้เกิดการเล่นให้กับลูกมากกว่าคอยจำกัดการเล่นของเขา . อย่างไรก็ตามหากต้องการแทรกแซงการเล่นของลูกๆ ควรจะเป็นการช่วยให้ลูกได้ขยายไอเดียการเล่นของพวกเขาออกไป .
 
ชิ้นส่วนหรือสิ่งของที่อยู่รอบตัวตามธรรมชาติแบบไหนที่เด็กสามารถนำมาเล่นได้? .
สิ่งของที่หาได้จากธรรมชาติ . - ก้อนหิน กรวดหิน - ทราย - ใบไม้ เศษไม้ ท่อนไม้ - โคลน .
สิ่งของทั่วไป . - ยางรถยนต์หรือจักรยาน - เสื้อผ้าเก่าๆ - เชือก - ท่อ PVC .
เพราะการเล่น คือ ความสนุก ความไม่แน่นอน ความท้าทาย ความยืดหยุ่น และการไม่คาดหวังถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น .
 
พาลูกออกไปเล่นกันเถอะ! .
Credit: Loose Parts Play Toolkit
 
ติดตามจ๊ะจ๋า กับกิจกรรมโฮมสคูลบ้านเรียนอธิษฐาน ได้ที่
เพจเฟสบุค👉 เด็กบ้านบ้าน 📌https://m.facebook.com/ordinaryparenting
เพจของครอบครัว 👉พึ่งตนเองต้องรอด Be Self-Reliant by Dao📌 https://m.facebook.com/SelfReliantByDao/
ช่องยูทูปของครอบครัว Ja Jah Family 👉 https://www.youtube.com/c/JaJahFamiLy

by นัชชา on Mar 26, 2022

Posted in ร่องรอยการเรียนรู้

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง