มิสยูนิเวิร์ส 2020 ชุดประจำชาติกับประเด็นสังคมการเมืองโลก รัฐประหารเมียนมา กระแสเกลียดชังคนเอเชีย
มาเริ่มต้นด้วยตัวแทนจากเมียนมากันเถอะ เธอมาพร้อมกักันบป้ายที่เขียนเอาไว้ว่า "Pray for Myanmar" เป็นการสะท้อนสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาที่จนถึงตอนนี้ยังไม่ท่าทีว่าจะกบับสู่ความสงบสุขได้ในเร็ววันหลังจากที่กองทัพทหารของเมียนมาก่อรัฐประหารและยึดอำนาจ หลังจากนั้นก็เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เพราะประชาชนนั้นไม่เห็นด้วยกับการก่อรัฐประหารนี้ออกมาประท้วงกันทั่วประเทศ จึงถูกกองทัพปราบปรามจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน
คนต่อมานั้นก็คือตัวแทนจากอาเซียนอีกคน เธอมาพร้อมกับการแสดงออกทางความคิด ชุดที่เธอใส่มานั้นเป็นชุดประชาติที่ได้แรงบันดาลใจ และมีต้นแบบมาจากธงชาติสิงคโปร์ พร้อมกับข้อความ "Stop Asian Hate" ที่กำลังเป็นกระแสในฝั่งตะวันตกที่กำลังเรียกร้องให้หยุดกระแสที่ทำให้เกลียดชังชาวเอเชีย หลังจากที่มีการทำร้ายชาวเอเชียเพราะการเหยียดเชื้อชาติ
คนต่อมาโลลา เดอ ลอส ซานโตส มาจากอุรุกวัย เธอได้นำเสนอชุดประจำชาติที่รณรงค์เรื่องความหลากหลายทางเพศ ที่จะมีข้อความเขียนเอาไว้ว่า No more hate, violence, rejection discrimination บนผ้าที่มีสีรุ้ง
ต่อมาก็คือชุดอันนี้เลยที่รู้จักกันในชื่อว่า ชุดหลังการระบาดโควิด-19 ชุดนี้สร้างขึ้นมาจากหน้ากากอนามัย 300 ชิ้น โดยชุดนี้เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงความหวังของอนาคต เมื่อถึงตอนที่หน้ากากไม่จำเป็นอีกต่อไป ทุกคนได้ไปฉีดวัคซีน แล้วคุณจะไม่ต้องเห็นราชินีในชุดนี้อีกต่อไป
และนี่ก็คือชุดมังกรโคโมโดจากประเทศอินโดนีเซีย
ต่อด้วชุดนักปีนเขาเอเวอร์เรสต์ของตัวแทนจากเนปาล
และปิดท้ายด้วย อแมนด้า จากประเทศไทยที่ได้สร้างสีสันบนเวทีด้วยชุด ไตรรงค์อนงค์นาถสุพรรณมัจฉา