นำทางบันทึก : ปมขัดแย้ง อิสราเอลปะทะปาเลสไตน์
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
เรามาเปิดเผยปมพวกนี้กันพวกนี้กันเถอะ

อิสราเอล และ ปาเลสไตน์ สองชาตินี้เป็นสองประเทศที่มีความขัดแย้งกันค่อนข้างรุนแรง ภาพจรวดมิสไซล์กว่าพันอัน ที่ทั้งสองประเทศยิ่งถล่มใส่กันนั้นแท้จริงแล้วทั้งสองประเทศนี้น่ะ สู้รบขัดแย้งกันมาครบ 73 ปีเต็มๆ แล้ว 

เกิดอะไรขึ้นระหว่างพวกเขากัน ทำไมมันถึงยืดเยื้อมายาวนานกว่า 73 ปี

ชนชาติยิวคือหนึ่งในชนชาติที่มีประวัติศาสตร์กับวัฒนธรรมหลายๆอย่างที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ด้วยความในอดีตแผ่นดินอิสราเอลที่เป็นของยิวอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ใกล้ๆกับ 3 ทวีป ก็คือเอเชีย, แอฟริกา, ยุโรป ส่งผลให้อิสราเอลได้รับผลกระทบจากการยึดอำนาจของจักรวรรดิต่างๆ อยู่เรื่อยๆ ส่งผลให้ชาวยิว ที่อยู่มาแต่เดิมต้องร่อนเร่กระจัดกระจายไปอาศัยในหลายประเทศทั่วโลก

ถึงแม้พวกเขาจะอพยพไปอยู่ในประเทศอื่นแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมของตัวเองไว้อยู่ และหวังว่าสักวันจะสามารถตั้งรกรากบนแผ่นดินอีกครั้งหนึ่งที่เยรูซาเล็ม บ้านเก่าของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือด้วยความที่อิสราเอลเปลี่ยนผ่านมาหลายยุคสมัย จึงผ่านมือคนหลายเชื้อชาติหลายศาสนา ทั้งเปอร์เซีย กรีก และโรมัน ส่งผลให้เยรูซาเล็ม กลายเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของคน 3 ศาสนา ทั้งยูดาห์, คริสต์ และ อิสลาม 

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เยรูซาเล็มและพื้นที่รอบๆ ได้ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของมหาจักรวรรดิออตโตมัน หรือก็คือประเทศตุรกีในปัจจุบัน และจักรวรรดิออตโตมันก็ได้ตั้งชื่อแผ่นดินของเยรูซาเล็มกับพื้นที่รอบๆว่า“ปาเลสไตน์”

ตอนนั้นปาเลสไตน์เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกของดินแดนนั้นเท่านั้น ชาวอาหรับที่เข้ามาอยู่ก็ถูกเรียกตามชื่อดินแดนแห่งนั้นว่า ชาวปาเลสไตน์ แต่ยังไงพวกเขาก็ไม่ได้มีอำนาจปกครองใดๆ เพราะเป็นแค่เพียงผู้ที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น 

แม้ว่าจะเปลี่ยนผู้ปกครองดินแดนไปหลายเชื้อชาติแล้ว แต่เหล่าชาวยิวก็ยังคงไม่ละทิ้งความหวังว่าสักวันจะสามารถกลับไปยังดินแดนของตัวเองอีกครั้ง  ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ทางอังกฤษได้สัญญากับชาวยิวเอาไว้ว่าถ้ามาช่วยรบจะให้ดินแดนปาเลสไตน์หากชนะสงคราม ชาวยิวเองที่ต้องการจะก่อตั้งประเทศของตัวเองอีกครั้ง เลยตอบตกลงไป

พอสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษที่อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ชัยชนะไป ส่วนจักรวรรดิออตโตมันที่อยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลางก็ต้องล่มสลาย นั้นจึงทำให้ดินแดนปาเลสไตน์ที่เคยเป็นของจักรวรรดิออตโตมัน ได้ไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษแทน อังกฤษก็ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับชาวยิว พวกเขาก็เลยอนุญาตให้ชาวยิวย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ที่ดินแดนปาเลสไตน์ได้

แต่มันก็มีปัญหาอย่างนึงก็คือ การที่เอาชาวยิวไปอยู่ในที่ที่มีคนอาหรับอาศัยอยู่มานานหลายปีไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด ชาวปาเลสไตน์เดิมคือคนอาหรับที่เปรียบเสมือนเจ้าถิ่น เพราะอยู่มานานแล้ว พออยู่ๆมีชาวยิวที่ยิ่งเป็นคนต่างศาสนาด้วยย้ายเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวปาเลสไตน์รู้สึกไม่ปลอดภัย ด้วยความกลัวว่าจะโดนยึดถิ่นฐาน เลยเกิดการใช้ความรุนแรงเพื่อที่จะขับไล่ชาวยิวออกไป และนี่คือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างสองเผ่าที่มีมานาน

ในมุมมองของชาวยิวมันคือแผ่นดินของพวกเขาตั้งแต่พันปีก่อน และอยากจะได้คืน แต่ฝั่งชาวอาหรับก็มีเหตุผลอยู่ว่านี่ก็คือแผ่นดินของพวกเขาเหมือนกัน เพราะอยู่มาหลายร้อยปีแล้ว

ในตอนแรก ปริมาณคนยิวนั้นมีน้อยกว่าคนอาหรับ แต่พอในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมนีที่นำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวไปทั่วยุโรป ทำให้ชาวยิวจำนวนมากต้องพยพกลับมาอยู่ที่ปาเลสไตน์

หลังจากสงครามครั้งที่ 2 จบลง ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะไปอีกเช่นเคย และเริ่มมีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN)ขึ้นมา เพื่อระงับข้อพิพาทด้วยวิธีสันติวิธี และเรื่องแรกๆที่ UN ต้องการยุติคือการต่อสู้กัน ระหว่าง คนยิวกับคนอาหรับที่กำลังชิงพื้นที่ปาเลสไตน์กัน 

จากนั้้นในปี 1947 UN ก็มีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือรัฐของชาวยิว อีกส่วนคือรัฐสำหรับชาวอาหรับ และเยรูซาเล็มก็กลายเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสองฝ่าย เป็นเมืองกลาง ไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ทาง UN ได้จัดสรรแบ่งพื้นที่ทั้งฝั่งยิวและฝั่งอาหรับให้มีขนาดเกือบเท่ากัน มีพื้นที่ทางออกที่ติดอยู่ที่ทะเลเท่าๆกัน และเมื่อ UN อนุมัติ ชาวยิวจึงมีการประกาศเอกราชของรัฐตัวเองขึ้น และได้ตั้งชื่อประเทศว่าอิสราเอล ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 

แต่ทางฝั่งปาเลสไตน์นั้นไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าพวกเขาอยู่ในแผ่นดินนี้มากว่าร้อยปีแล้ว แต่อยู่ๆก็ถูกตัดแบ่งประเทศไปครึ่งนึงให้ชาวยิวแบบนี้เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม 

บรรยากาศการเมืองโลกตอนนี้ ฝั่ง UN นำโดยอังกฤษ และสหรัฐฯ อยู่ฝั่งอิสราเอล แต่ ฝั่งชาติอาหรับรอบด้าน ที่เป็นมุสลิม แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง เพราะมองว่า เป็นแนวคิดของพวกชาติตะวันตกที่รวมหัวกัน ใช้อำนาจล่าอาณานิคมแบบมัดมือชก และอีกอย่าง เอาดินแดนของคนศาสนาอื่น มายัดใส่ตรงกลางระหว่างแผ่นดินอิสลามก็เป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก 

รอบด้านอิสราเอล ประกอบด้วยประเทศ อียิปต์, เลบานอน, จอร์แดน, ซีเรีย และ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอิสลามทั้งสิ้น 

การที่อิสราเอลทำการประกาศตัวเป็นประเทศเอกราช นั้นแปลว่าพวกเขาจะไม่ได้ถูกการคุ้มครองจากอังกฤษอีกต่อไป ทำให้ชาวปาเลสไตน์ร่วมมือกับชาติอาหรับ, อียิปต์, เลบานอน, ซีเรีย, จอร์แดน, อิรัก คราวนี้ไม่ใช่แค่การขัดแย้งกันธรรมดาๆแต่เป็นสงครามระหว่างประเทศแล้ว อิสราเอล ปะทะกับ ปาเลสไตน์และชาติอาหรับ

แม้จะโดนหลายประเทศรุมแต่อิสราเอลก็รับมือได้อย่างดี นอกจากจะสามารถป้องกันกองกำลังของอาหรับไม่ให้เข้ามาได้ก็ยังสามารถตีโต้กลับไปได้ด้วย และยึดครองดินแดนของชนชาติอาหรับบางส่วนได้อีกด้วยล่ะ

แม้ฝั่งอสราเอลจะมีกำลังน้อยกว่าถูกรุมทุกทิศทาง แต่ในสงครามครั้งนี้ อิสราเอลก็สามารถชนะได้อย่างง่ายดาย ประเทศอื่นๆก็ต้องยอมมาทยอยเซ็นสัญญาสงบศึกกับอิสราเอลกัน ปาเลสไตน์เสียดินแดนของตัวเองไปส่วนหนึ่ง ในขณะที่พื้นที่ฉนวนกาซ่าทางทิศตะวันตกของประเทศถูกตั้งเหมือนเป็นแผ่นดินกันชน ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน ที่ถูกตั้งเอาไว้เพื่อลดการประจันหน้ากันของอียิปต์กับอิสราเอล

กลายเป็นว่าชาวปาเลสไตน์ก็ต้องเสียพื้นที่ไปอีกแทนที่ถ้ายอมรับแผนแบ่งดินแดนของ UN ก็จะได้พื้นที่ 44% ของแผ่นดินเดิมอยู่แล้ว

เมื่อแพ้ในสสงครามแบบเต็มรูปแบบ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO)จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียกร้องดินแดนเดิมคืน แต่เป็นการโจมตีแบบกองโจรแทน 

เหตุการณ์ล่วงเลยมาจนถึงปี 1967 ได้เกิดสงครามครั้งใหญ่อีกครั้ง จากการที่อิสราเอลไม่พอใจประเทศรอบข้าง ที่ให้การสนับสนุนองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นกลุ่มทหารแนวกองโจร ในการเข้ามาก่อความวุ่นวายในอิสราเอล 

สถานการณ์ก็ตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ ฝั่งชาติอาหรับทั้งอียิปต์, ซีเรีย, จอร์แดน, อิรัก ต่างก็กำลังเตรียมกำลังรบไว้รับมือถ้าหากเกิดสงครามขึ้น ถ้าวัดกันที่กองกำลัง ทางอิสราเอลมีทหารแค่ 50,000 นาย แต่ทางฝั่งชาติพันธมิตรอาหรับมีทหารรวมๆกันแล้วมีมากกว่า 547,000 นาย ที่มีมากกว่าสิบเท่านั่นเอง 

ยังไงก็ตาม ถึงแม้จะมีกำลังทหารน้อยกว่า แต่อิสราเอลก็เหนือกว่าในด้านของแผนการรบ ในระดับที่แม้แต่จะเอาหลายประเทศมารวมกันยังเอาชนะอิสราเอลไม่ได้! ทำให้ฝั่ง PLO ยอมรับการแบ่งดินแดนตามมติของ UN ในปี 1947 ที่อย่างน้อยๆจะได้เหลือดินแดนให้ชาวปาเลสไตน์อยู่อาศัยได้บ้าง

แต่ในเมื่ออิสราเอลได้รับพื้นที่ส่วนหนึ่งไปแล้ว เรื่องอะไรเขาจะยอมรับข้อเสนอของ PLO กันล่ะ เขาจึงใช้วิธีการส่งประชาชนชาวอิสราเอลไปอยู่อาศัยทั้งในเขตของฉนวนกาซ่า, เขตเวสต์แบงค์ เพื่อทำการกลืนกินพื้นที่ของปาเลสไตน์เดิม ให้กลายเป็นของอิสราเอลโดยสมบูรณ์

ปาเลสไตน์มองว่าการที่อิสราเอลเอาคนมาอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ชาวปาเลสไตน์เคยอยู่อาศัย โดยเฉพาะในเขตเวสต์แบงค์ที่มีประชากรอย่างหนาแน่นเป็นเหมือนการไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากพื้นที่ นานาชาติก็ไม่เห็นด้วยกับเเรื่องนี้เพราะเห็นว่าควรมีจุดตรงกลางที่ทั้งสองฝ่ายจะอาศัยอยู่ด้วยกันได้โดยที่ไม่ต้องยึดไปทั้งประเทศแบบนี้

ชาวปาเลสไน์ตอนนั้นยังไม่มีสิทธิ์ใดๆในการปกครองตนเอง รบก็ไม่ชนะ เป็นเหมือนกับเบี้ยล่างของอิสราเอล

ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ที่รถกองทัพของอิสราเอลชนเข้ากับคนงานของปาเลสไตน์จนมีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปสี่คน ทำให้เกิดการลุกฮือ และพวกเขาก็ลุกขึ้นมาประท้วง

ชาวปาเลสไตน์กลุ่มหนึ่งมองว่า PLO ประนีประนอมจนเกินไป จึงได้มีการก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมาอีกกลุ่มชื่อ“ฮามาส”

PLO เริ่มหยุดการสู้รบแบบกองโจร และพยายามหาสันติวิธี จึงเจรจากับอิสราเอล กลุ่มฮามาสกลับเลือกที่จะใช้วิธีสู้รบกับอิสราเอล พวกเขาได้กลายเป็นกลุ่มการเมืองที่มีความคิดตรงกันข้ามกับของ PLO

ฝั่งนานาชาติก็ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ และทำข้อตกลงออสโลในปี 1993 และ 1995 พวกเขาได้ตกลงกันว่าจะมีการแบ่งเขตเวสต์แบงค์ออกเป็นเขต A B และ C และได้เปิดโอกาสให้ปาเลสไตน์ได้ปกครองตนเองในบางส่วน

แต่กลุ่มฮามาสก็ยังคงตั้งใจทำตามความตั้งใจเดิมคือการทำลายล้างอิสราเอล จึงไม่ยอมตกลงอะไรด้วย

กลุ่มฮามาสได้ส่งมือระเบิดพลีชีพเข้าไปในอิสราเอลหลายต่อหลายครั้ง ทำให้การเจรจาด้วยวิธีสันติภาพต่อไปได้ยากลำบาก เพราะทางชาวอิสราเอลเองก็รู้สึกโกรธกับการสูญเสียที่ทางฮามาสเป็นคนก่อเหมือนกัน โดยชาวยิวที่เป็นฝ่ายชาตินิยมขวาจัด

จากนั้นก็มีการเกิด Intifada ครั้งที่ 2 ในช่วงปี 2000-2005 จากการที่ผู้นำฝ่ายค้านของทางฝั่งอิสราเอลที่มาพร้อมกับกำลังทหารและตำรวจเดินเข้าไปภายในมัสยิดอัลอักซอแห่งนครเยรูซาเล็ม ที่ที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ลำดับที่ 3 ของศาสนาอิสลามรองจากนครเมกกะและนครมาดีนะห์ของประเทศซาอุดีอาระเบีย

การบุกรุกเข้าไปในมัสยิดที่สำคัญของพวกเขานั้นทำให้ชาวปาเลสไตน์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขามองว่าเป็นการจงใจที่จะมายั่วยุและเป็นการดูหมิ่นทางศาสนา นี่เลยเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการปะทะกันขึ้น และลากยาวมาอย่างน้อยๆ 5 ปี

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อิสราเอลก็ได้ทำการเพิ่มความแน่นหนาในการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยเหตุผลว่าไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง จึงมีการสร้างกำแพงกั้นตรงกลางระหว่างเขตเวสต์แบงค์กับประเทศอิสราเอล และทำการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากนครเยรูซาเล็ม เพื่อการตั้งถิ่นฐานของชาวอิสราเอลต่อไป ทั้งๆที่นานาชาติไม่เห็นด้วย

แต่หลังจากที่ Intifada ครั้งที่ 2 จบลง การปะทะ สู้รบกันระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ก็เหมือนจะเบาลงไปสักพักหนึ่ง เพราะกลายเป็นว่ามีความขัดแย้งกันเองภายในปาเลสไตน์ ระหว่างฟาตะห์ผู้เป็นคนควบคุมกลุ่ม PLO กับกลุ่มฮามาสที่ชนะการเลือกตั้งในปี 2006

สถานการณ์แย่ลงเรื่อยๆ จนจบลงด้วยสงครามกลางเมืองภายในปาเลสไตน์ในปี 2007 ที่มีชื่อว่าสงครามแห่งฉนวนกาซ่า กลุ่มฮามาสก็ได้รับชัยชนะไป เมื่อสงครามกลางเมืองจบลง กลุ่มฮามาสก็เริ่มการโจมตีอิสราเอลต่อ

กลับมาสู่ปัจจุบัน เมื่อไม่นานมานี้มีการปะทะกันที่มัสยิดอัลอักซออีกครั้งหนึ่ง โดยที่มีตำรวจอิสราเอลใช้กระสุนยางและระเบิดแสงในการโจมตี ในตอนที่ชาวปาเลสไตน์กำลังประกอบพิธีกันในมัสยิด

การบุกเข้าไปในมัสยิดอัลอักซอครั้งนี้ทำให้มีชาวปาเลสไตน์ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ส่วนทางเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลก็บาดเจ็บถึง 21 และยังทำให้ผู้นำชาติมุสลิมหลายๆประเทศประณามอิสราเอล เพราะพวกเขามองว่าการที่อิสราเอลบุกมัสยิดอัลอักซอที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา เป็นการโจมตีศาสนาอิสลาม

กลุ่มฮามาสได้ตัดสินใจตอบโต้จากสถานที่ตั้งในฉนวนกาซ่า ด้วยการยิงจรวดใส่อิสราเอลจำนวนมาก และยังกระจายไปยังทั่วทั้งประเทศอิสราเอล

กองทัพอิสราเอลได้บบอกว่าจรวด 1 ใน 4 จาก 1,600 ลูกยิงมาไม่ถึงและตกลงในพื้นที่ภายในฉนวนกาซ่า และส่วนที่มาถึงฝั่งอิสราเอลก็ถูกระบบป้องกันที่ชื่อว่า Iron Dome เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ดีมากๆเลยหล่ะ เพราะงั้นจึงสกัดไว้ได้ถึง 90%

พอโดนระดมยิงด้วยจรวดทางด้านอิสราเอลเลยตัดสินใจตอบโต้กลับไปบ้าง ด้วยการยิงจรวดโจมตีฉนวนกาซ่า

ปาเลสไตน์ที่ไม่มีระบบป้องกันดีๆเหมือนอย่างอิสราเอลทำให้พื้นที่ในฉนวนกาซ่าได้รับความเสียหายหนัก มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อยๆน่าจะ 137 คน และบาดเจ็บอีกเยอะ

ตอนนี้ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ไม่มีทางถอยกันง่ายๆแล้ว เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลบอกว่าการระดมยิงจรวดใส่นครเยรูซาเล็มเป็นการล้ำเส้น  ผู้ที่โจมตีจะต้องชดใช้ ฝั่งผู้นำของกลุ่มฮามาสแห่งปาเลสไตน์เองก็ยืนยันว่าจะไม่ถอยเช่นกัน

เสียงจากนานาชาติแบ่งออกเป็น 3 คือ:

-ฝ่ายพันธมิตรหลักของอิสราอย่างเสหรัฐฯ ยืนยันว่าอิสราเอลมีสิทธิ์ที่จะป้องกันตัวเองได้

-ฝ่ายที่เป็นกลางอย่างอังกฤษ ได้ออกมาเรียกร้องขอให้ทั้งสองฝ่ายถอยออกกันไปคนละก้าวเพื่อยุติความรุนแรง และสงครามนี้

-ชาติมุสลิมอย่างตุรกี ต้องการให้นานาชาติปกป้องปาเลสไตน์ จากการที่อิสราเอลมารุกรานพื้นที่

สเตฟาเน่ ดูจาร์ริค โฆษกของ UN ได้แสดงความเห็นว่า การที่ทางกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์ยิงจรวดเข้าไปในพื้นที่ชุมชนแออัดเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ แต่ก็ได้ขอให้อิสราเอลอดทนให้ถึงที่สุด, ใช้กำลังอย่างเหมาะสมไม่มากจนเกินเหตุ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย

สุดท้ายแล้วจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งกันในระหว่างสองประเทศนี้เกิดขึ้นจากแค่เพราะ อิสราเอลและปาเลสไตน์ ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนที่เดียวกัน โดยยกประวัติศาสตร์และความเชื่อทางศาสนาเพื่อเป็นเหตุผลว่าตนเองนั้นก็มีสิทธิ์ครอบครองโดยชอบธรรมเช่นกันทั้งสองฝ่าย

ความขัดแย้งของสองชนชาตินี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากเกิกว่าจะสามารถเจรจาให้จบลงด้วยสันติง่ายๆ กว่าจะถึงวันที่สงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์จะจบลง เลขผู้เสียชีวิต จะไม่มีแค่หลักร้อยแน่นอน


by Numthang on May 20, 2021

Posted in ร่องรอยการเรียนรู้

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง