การผจญภัยของเด็ก HomeSchool ตอนที่ 8
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
เคยดูหนังจีนประเภทเจ้ายุทธจักรไหม พระเอกไปขอตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์ เพื่อเรียนรู้เคล็ดวิชากำลังภายใน แต่อาจารย์ไม่ยอมสอนวิชากำลังภายในให้ ไล่ไปหาบน้ำปีสองปี ไล่ไปเอาไม้ตีนุ่นอีกสองปี หลังจากนั้นจึงได้เรียนวิชากำลังภายในสมความปรารถนา และก็ได้ล่วงรู้ในที่สุดว่า สิ่งที่อาจารย์ให้ไปหาบน้ำ ให้ไปตีนุ่น ที่แท้คือพื้นฐานวิชาที่ต้องมีก่อนจะฝึกวิชาขั้นสูง
มีน้องคนหนึ่งสอบถามมาว่า ถ้าปล่อยให้ลูกเรียนสบายๆ เล่นๆ อยู่นานจนถึง ม.สาม แล้วต้องมาทุ่มเทเรียนอย่างหนักช่วงม.4-5-6 เด็กจะทำได้หรือ
ผมถามเธอว่า เคยดูหนังจีนประเภทเจ้ายุทธจักรไหม พระเอกไปขอตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์ เพื่อเรียนรู้เคล็ดวิชากำลังภายใน แต่อาจารย์ไม่ยอมสอนวิชากำลังภายในให้ ไล่ไปหาบน้ำปีสองปี ไล่ไปเอาไม้ตีนุ่นอีกสองปี หลังจากนั้นจึงได้เรียนวิชากำลังภายในสมความปรารถนา และก็ได้ล่วงรู้ในที่สุดว่า สิ่งที่อาจารย์ให้ไปหาบน้ำ ให้ไปตีนุ่น ที่แท้คือพื้นฐานวิชาที่ต้องมีก่อนจะฝึกวิชาขั้นสูง
 
เมื่อถึง ม.4-5-6 เด็กๆต้องเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนก็คิดว่าวิธีที่จะสร้างข้อได้เปรียบให้กับเด็กก็คือ ก็เอาวิชาเหล่านั้นมาสอนก่อนล่วงหน้าตั้งแต่ม.ต้น บางคนก็บอกว่าควรจะเริ่มตั้งแต่อนุบาลหรือประถมไปซะเลย ด้วยวิธีคิดแบบนี้ทำให้เด็กประถมและมัธยมต้นของเรา ต้องเรียนหนักและเรียนอย่างยากลำบากกว่าสมัยก่อนมากมาย ลองพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง โดยการไปลองเปิดตำราของเด็กนักเรียนยุคนี้ดู
 
เราคิดกันแต่ว่าเด็กจะได้อะไร แต่ลืมคิดไปหรือเปล่าว่าเด็กจะเสียอะไร! ให้แต่เนื้อหาวิชาการ โดยไม่สนใจความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กหรือเปล่า?
เป้าหมายสำคัญของการศึกษาช่วงต้นคืออะไรกันแน่? จะสร้างตึกสูงต้องให้ความสำคัญกับรากฐานของตึก ซึ่งก็คือเสาเข็ม และต้องสร้างให้สอดคล้องกับภูมิอากาศและ ภูมิประเทศอีกด้วย ถ้าเปรียบการศึกษากับการสร้างตึก เสาเข็มก็คือ พลังความมุ่งมั่น (willing)
 
สภาพภูมิประเทศก็คือ พัฒนาการตามวัยของเด็ก การจัดhomeschool ที่ผ่านมา ผมทำด้วยความเชื่อแบบนี้แหละ ผมยึดหลักพัฒนาการตามแนวคิดของวอล์ลดอฟล์ มุ่งที่จะสร้างพลังแห่งความมุ่งมั่น และไม่ได้สร้างความมุ่งมั่นแบบที่กล่าวมาข้างต้น ที่ว่า...อยากให้เด็กๆมุ่งมั่นทำคณิตศาสตร์ก็ย่อยคณิตศาสตร์มาให้เด็กเล็กทำ แต่เราสร้างพลังความมุ่งมั่นผ่านกิจกรรมต่างๆ เล่นเปียโน เป่าแซกโซโฟน ตีเทนนิส ทำงานศิลปะ ถักหมวก ถักผ้าพันคอ ทำสวน ทำนา เดินป่า ทำอาหาร ทำงานบ้าน เรียนคณิตศาสตร์ใกล้ตัว เรียนการอ่านการเขียนเพื่อจะอ่านนิทานหรือนิยายที่ตนเองชอบ
พลังแห่งความมุ่งมั่นที่สร้างในแนวทางนี้ มันท้าทาย สนุกสนาน มีสีสรร และมีความหมาย สำหรับเด็กๆ อีกทั้งสอดคล้องกับพัฒนาการตามแนวทางที่ผมเชื่อมากกว่า
 
เมื่อได้สัมผัสกับลูกชายคนนี้ ในช่วงของการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมก็พบว่าความเชื่อของผมเป็นความจริง เหตุผลที่เขายังไม่สามารถสอบติดแพทย์ได้ในครานี้ ก็อาจเป็นเพราะผมไม่ได้รับรู้ถึงวิธีการสอบที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งส่งผลให้เด็กต้องมีวิธีการเตรียมตัวที่ไม่เหมือนกับประสบการณ์ของผมเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว
 
คำแนะนำของผมมันล้าสมัย! ลูกต้องมีโค้ชคนอื่นช่วยแล้วกระมัง?