สถานการณ์ปัญาหาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและศูนย์การเรียนและข้อเสนอแนะ
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
สภาพปัญหา ทางออกและข้อเสนอแนะนี้ ผมเขียนขึ้นเพื่อนำเสนอ เผยแพร่ให้แก่คณะต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว และโดยศูนย์การเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่ เช่น คณะของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในปี 2017 ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จดทะเบียนกับเขต เผื่อจะได้เทียบเคียงกันว่าพบเจอปัญหาใกล้เคียงกันไหม ที่รวบรวมมาครอบคลุมหรือยัง รวมถึงท่านอาจจะมีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมสามารถเสนอแนะกันใน comment ได้ครับ 
 
ปัญหาในภาคปฎิบัติของการจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 12 ทางออกและข้อเสนอแนะ

          แม้ว่าการ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะให้สิทธิครอบครัวและชุมชม ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ในภาคปฎิบัติ ยังพบประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการอยู่หลายประเด็นดังนี้

1)     ความไม่เข้าใจกันระหว่างกฎระเบียบ การตีความที่ไม่ตรงกัน ซึ่ง เจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ (ทั่วประเทศ) มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบ้านเรียน ศูนย์การเรียนไม่เท่ากัน เสนอแนวปฎิบัติแตกต่างกัน บางที่อำนวยความสะดวกให้บ้านเรียนมาก บางที่ไม่เข้าใจและยึดตามแนวทางเดียวกับโรงเรียน ทำให้เกิดปัญหาในทุก ๆ ขั้นตอน
2)     ระบบโครงสร้างการบริหารและบุคลากรที่จำกัด เนื่องจากการดำเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัวต้องเกี่ยวเนื่องกับ หลายหน่วยงานใน สำนักงานเขต (ในอดีต) ฝ่ายส่งเสริมการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นผู้รับแผนประสานงานและดูแลบ้านเรียน ฝ่ายศึกษานิเทศก์ มีหน้าที่ติดตามประเมินผล และ ฝ่ายงบประมาณและแผน ดูแลเรื่องเงินอุดหนุน ด้วยการแบ่งงานในลักษณะดังกล่าว ทำให้การดำเนินการขาดต่อเนื่อง ทำให้เกิดกรณีต่าง ๆ ดังนี้
2.1) เมื่อครอบครัวยื่นแผน ทางครอบครัวไม่สามารถได้รับคำแนะนำที่ครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อแก้ไขแผนได้ ทำให้ต้องแก้ไขจำนวนหลายรอบ บางครอบครัวใช้เวลาแก้ไขแผนเป็นเวลา 3 เดือนยังไม่ผ่านและไม่สามารถได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจัดเจน เนื่องจากขาดการประสานงานระหว่างฝ่ายส่งเสริม ฯ และฝ่ายนิเทศก์
2.2) ด้วยการทำงานที่แยกส่วนทำให้ บุคคลากรที่ตรวจแผนและผู้ที่นิเทศก์ วัดประเมินผลเป็นคนละบุคคล จึงขาดความต่อเนื่อง ความเข้าใจในแผนการจัดการศึกษาและแนวทางการวัดและประเมินผล รวมถึงเกิดความล่าช้าในการออกเอกสารจบการศึกษา
2.3) มีกรณีเอกสาร รายงานผลการจัดการศึกษาสูญหายอยู่เป็นประจำ
2.3) นักเรียนในศูนย์การเรียนไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายหัว
2.4)  นักเรียนบ้านเรียน ได้รับเงินสนับสนุนรายหัว ไม่ครบ มีการตกหล่นเป็นประจำ เนื่องจากฝ่ายงบประมาณและแผนไม่ได้เสนอชื่อ มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ใหม่มิได้เสนอชื่อนักเรียนบ้านเรียนทั้งเขต ทำให้ไม่มีบ้านเรียนใดในเขตนั้นได้รับเงินสนับสนุน/ได้รับล่าช้า ล่าสุดกรณีของเชียงใหม่เขต 1 นักเรียนทั้งเขตไม่ได้รับเงินอุดหนุนติดต่อกัน 2 ภาคการศึกษา

          3) ปัญหาการประสานงานติดขัด ล่าช้าในการเดินเรื่องและเอกสารต่าง ๆ เช่น การสมัครสอบโอเน็ต การสมัครเรียน รด. การขอมีบัตรประจำตัวนักเรียน เนื่องจากเด็กยังไม่มีรหัสสถานศึกษาในระบบ หรือการยังไม่มีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนในกรณีของการศึกษาวิชาทหาร นอกจากนี้ภายหลังจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจาก สำนักงานเขตเป็นศึกษาธิการจังหวัด การจดทะเบียนบ้านเรียน/ศูนย์การเรียนใหม่ล่าช้าขึ้น ส่งผลให้เด็กเสียเวลาและโอกาสทางการศึกษา เด็กมัธยมปลาย ชายต้องเรียน รด.ล่าช้าไป 1 ปี


ภาพจากสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

          4) ข้อเสนอและแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการ
4.1) ควรมีการปรับโครงสร้างการทำงานให้มีลักษณะ One Stop Service มีเจ้าหน้าที่ชุดเดียว จำนวนอย่างน้อย 2 – 3 คนเพื่อดูแลการจัดการศึกษาโดยครอบครัว และศูนย์การเรียน เนื่องจากการจัดการศึกษาในรูปแบบดังกล่าวมีลักษณะบูรณาการสูง การใช้เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญแยกส่วนรายวิชาจำนวนมากนั้น ไม่สามารถเข้าใจเด็กในภาพรวมได้ และขาดตอนไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการให้คำแนะนำ ข้อสังเกตสำคัญคือ ในพื้นที่เพิ่งมีการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือศูนย์การเรียนในช่วงครั้งแรก ๆ หากเจ้าหน้าที่ไม่มีความเข้าใจ จะเกิดความขัดแย้งในช่วงแรก 2 – 3 ปี เช่นเดียวกับผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัวบ้านเรียน ที่มักไม่เห็นด้วยกับพ่อแม่ที่ทำบ้านเรียนให้ลูกหลาน แต่เมื่อเด็กมีพัฒนาการที่ดี ซึ่งจะสังเกตได้เมื่อเข้าปีที่ 2 – 3 มักมีการทำงานร่วมกันที่ดีมากขึ้น เนื่องจากมีการเรียนรู้ระหว่างกัน แต่เมื่อมีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ (ซึ่งแต่ละพื้นที่มักมีบุคคลเดียวเป็นผู้ดูแลหลัก) พื้นที่
นั้น ๆ ต้องเริ่มทำเรียนรู้ทำความเข้าใจกันใหม่และใช้เวลาอีก 2 – 3 ปี กว่าการทำงานจะราบรื่น ดั้งนั้น การจัดตั้งหน่วยงานที่เล็ก แต่มีเจ้าหน้าที่ 2 – 3 คนเพื่อดูแลบ้านเรียน จะทำให้เกิดความคล่องตัว มีความเข้าใจต่อเนื่อง และเจ้าหน้าที่สามารถถ่ายทอดงานกันได้หากมีการปรับเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
4.2) ควรดำเนินการให้ศูนย์การเรียน/บ้านเรียน เข้าไปอยู่ในระบบฐานข้อมูล/โครงสร้างการจัดสรรงบประมาณ โดยมีรหัสสถานศึกษา รหัสประจำตัวเด็ก และผู้จัดการศึกษามีหน้าที่ต้องเข้ามากรอกข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลอยู่เสมอ
 



by Unnop on Dec 27, 2017

Posted in คู่มือโฮมสคูล

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง