จดทะเบียนบ้านเรียนกับเขตอย่างเข้าใจ : ความกังวลใจของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีใครบอกคุณ
ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month
เมื่อกล่าวถึงการจดทะเบียนบ้านเรียนกับเขตแล้ว ทางผู้ปกครองเด็กบ้านเรียนก็มักจะนึกถึงความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจต่าง ๆ มากมาย แต่จริง ๆ แล้วมีหลายเขตที่เจ้าหน้าที่สามารถร่วมมือกับผู้ปกครองบ้านเรียนได้เป็นอย่างดี
 
เพื่อความเข้าใจมุมมองของเจ้าหน้าที่เขตที่รับการจดทะเบียน ผมจึงลองเขียนถึงความกังวลใจของเจ้าหน้าที่ เพื่อที่เราจะได้มีความเข้าใจในเจ้าหน้าที่เขตที่ต้องรับการจัดทะเบียนของเรามากขึ้น โดยหวังว่าเมื่อเราเข้าใจความเป็นห่วงกังวลของเขาแล้วจะได้หาทางทำให้ความกังวลใจลดลงเพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น ผมเขียนบนสมมุติฐานว่า เจ้าหน้าที่เขตเป็นผู้ที่มีความห่วงใจในอนาคตของการศึกษาชาติและอยากเห็นเด็ก ๆ  ในสังคมมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีเช่นเดียวกับเราพ่อแม่บ้านเรียนที่ใส่ใจในการศึกษาของลูก แต่ด้วยบทบาทหน้าที่ต่างกันจึงอาจจะมีมุมมองที่ขัดกันบ้าง และนี่ข้อกังวลใจที่เราควรรู้และช่วยกันคลายความกังวล


 
1) การจดทะเบียนบ้านเรียน 1 บ้าน เท่ากับการจดทะเบียนโรงเรียนหนึ่งโรง เมื่อมีการจดทะเบียนบ้านเรียน เจ้าหน้าที่ต้องมีการดูแลเราเสมือนมีโรงเรียนเพิ่มขึ้น 1 โรงเรียน ต้องมีการไปตรวจสถานที่ (เยี่ยมบ้าน) นิเทศก์ (ประเมินเด็ก) ฯลฯ ซึ่งถือเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นไม่น้อย แน่นอนเป็นสิทธิ์ของเรา แต่ก็เป็นภาระที่เพิ่มขึ้นของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเราคงทำอะไรไม่ได้นอกจากอยากให้เข้าใจเขาบ้าง ในระยะยาวหากบ้านเรียนมีการขยายตัว ทางภาครัฐคงต้องคิดวางระบบจัดการที่ดีกว่านี้ 
 
2) เวลาเขียนแผนการจัดการศึกษาของบ้านเรียน เจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นคนอนุมัติเอง แต่เป็นคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาของเขตนั้น  ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแทนจากโรงเรียน บุคคลากรภายนอก ดังนั้น แม้เจ้าหน้าที่จะเข้าใจรูปแบบ แผนการการจัดการศึกษาของชาวบ้านเรียน แต่ก็ยังขอให้เขียนแผนในลักษณะเดียวกับสถานศึกษา ทั้งนี้อาจจะเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจกับคณะกรรมการการศึกษาของเขต และทำให้แผนการศึกษาอนุมัติโดยง่าย
 
3) การประเมินผลตามกรอบของ สพฐ. เรียกกันง่าย ๆ ว่า 8 สาระ นี่คงเป็นปัญญาโลกแตกที่สุดในการจดทะเบียนกับเขตแล้ว คือเมื่อทำแผนการศึกษาตามกรอบแล้วก็ต้องเดินสุดทางด้วยการประเมินตาม 8 สาระ ความกังวลใจที่หนักที่สุดของเจ้าหน้าที่ก็คือ การประเมินตามกรอบ 8 สาระ ซึ่งสะพานเชื่อมระหว่างการเรียนในระบบโรงเรียนกับการทำบ้านเรียน ทำให้การเทียบโอนผลการเรียนระหว่างบ้านเรียนและโรงเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น ผมเข้าใจว่าคงมีกรณีก่อนหน้านี้ที่ไม่ได้มีการประเมินตาม 8 สาระแล้วทำให้เกิดปัญหาเมื่อเด็กต้องกลับเข้าสู่ระบบโรงเรียน คือเมื่อเกิดปัญหาแล้วสุดท้่ายคนที่ถูกโวยก็คือเจ้าหน้าที่อีกว่าทำไมทำไม่ได้ ฯลฯ ดังนั้นจึงพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นอีก 
 
จริง ๆ อีกประเด็นนื้เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่มักจะยกขึ้นมาคุยคือเรื่องกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามหลักสูตรแกนกลาง แต่ผมลองไล่ดูแล้วจะมีหลักสูตรแกนกลางสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สามารถยืดหยุ่นได้มากอยู่ ซึ่งการทำบ้านเรียนก็เข้าข่ายกลุ่มเป้าหมายเฉพาะด้วย แม้ว่าโดยหลักการจะบอกว่าหลักสูตรสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนั่นให้สามารถเทียบโอนได้แต่ในทางปฎิบัติ คงเป็นไปได้ยาก เพราะมีคนเล่าว่าแม้กระทั่งโอนระหว่างโรงเรียน บางครั้งยังมีขั้นตอนติดขั้นมากมาก ดังนั่งข้อเป็นห่วงสำคัญของประเด็นนี้คือการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการทำบ้านเรียนกับการเข้าสู่โรงเรียนตามย่อหน้าด้านบน 

ซึ่งแน่นอนการเขียนแผนและการประเมินผล รายการผลตามแนวทางของตนเองเป็นสิทธิของพ่อแม่บ้านเรียนที่จะยืนยันตามกรอบกฎระเบียบที่มีอยู่ แต่เมื่อการรายงานผลที่ไม่ได้เป็นไปเหมือนเช่นระบบโรงเรียนทั่วไป ในอนาคตหากจะนำลูกกลับเข้าสู่ระบบโรงเรียนอาจจะมีปัญหาติดขัดซึ่งพ่อแม่ต้องเข้าใจตรงนี้และทำความเข้าใจกับเ้จ้าหน้าที่ถึงการยอมรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 
 
หมายเหตุ : 
 
1. สิ่งที่เขียนนี้เก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ที่ได้จดทะเบียนบ้านเรียนกับเขตในระดับอนุบาลมา 1 ปีและได้เริ่มเข้าสู่ปีที่ 2 นอกเหนือจากประสบการณ์ตรงแล้ว ยังมีข้อมูลมุมมองต่างๆ มาจากจากพูดคุยกับผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ได้จดก่อนหน้า การเข้าร่วมการประชุมกับเขต ฯลฯ
 
2. ผมขอขอบคุณผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ได้ให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนไว้ ณ ที่นี้ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าท่านต้องการให้เอ่ยนามหรือไม่ จึงไม่ได้ให้เครดิตไว้ ณ ที่นี้ ส่วนการประมวลผลหรือมุมมองที่ผมมีหากผิดพลาดขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

3. เจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตมีมุมมอง ความรู้ ความเข้าใจในการทำบ้านเรียนต่างกันอย่างมาก การจดทะเบียนในแต่ละเขตจึงมีความต่างกัน
 
4. ถ้าเห็นว่ามีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนประการใดสามารถเพิ่มเติมไว้ใน comments ด้านล่างบทความได้เลยครับ 


by Patai on Jul 29, 2014

Posted in ไม่มีหมวดหมู่

ติดต่อลงโฆษณา
Medium Rectangle Sidebar 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

ป้ายคำค้น

ในหมวดเดียวกัน
ป้ายคำค้นเดียวกัน

โปรเจ็กต์ของผู้แต่ง